ผลการประเมิน PISA 2015 บอกอะไรถึงระดับนโยบาย

PISA ได้เก็บข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากผลการทดสอบของนักเรียน ทั้งวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของข้อมูลเหล่านั้นกับผลการประเมินทำให้สามารถชี้นัยถึงระดับนโยบายได้ว่า ระบบฯ สามารถทำอะไรได้บ้างเพี่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน ถึงแม้จะมีข้อมูลด้านตัวแปรต่าง ๆ มากมาย แต่ระบบมักไม่ให้ความสำคัญ และคงแนวปฏิบัติแบบเดิมมาตลอดทำให้ผลการประเมินชี้ถึงความไม่ก้าวหน้าและไม่มีการยกระดับเกิดขึ้นในระบบโรงเรียน

สรุปผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์

PISA 2015 มีประเทศที่เข้าร่วมโครงการ 72 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ และเป็นครั้งแรกที่จัดให้มีการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based assessment หรือ CBA) เต็มรูปแบบ สำหรับประเทศไทยได้เก็บข้อมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 จากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอายุ 15 ปี จำนวน 8,249 คน ใน 273 โรงเรียนของทุกสังกัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบทดสอบที่ประเมินความสามารถในการใช้ความรู้และทักษะด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามนักเรียนและผู้บริหารโรงเรียน

ผลการประเมิน PISA 2015

PISA 2015 มีประเทศที่เข้าร่วมโครงการ 72 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ และเป็นครั้งแรกที่จัดให้มีการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based assessment หรือ CBA) เต็มรูปแบบ สำหรับประเทศไทยได้เก็บข้อมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 จากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอายุ 15 ปี จำนวน 8,249 คน ใน 273 โรงเรียนของทุกสังกัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบทดสอบที่ประเมินความสามารถในการใช้ความรู้และทักษะด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามนักเรียนและผู้บริหารโรงเรียน

ประชุมชี้แจงผู้ประสานงานโรงเรียนและผู้คุมสอบ โครงการ PISA 2015

PISA THAILAND จัดประชุมชี้แจงผู้ประสานงานโรงเรียนและผู้คุมสอบโครงการ PISA 2015 เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินการเก็บข้อมูลการวิจัยหลักโครงการ PISA 2015 ให้แก่โรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง

ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA ที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่

ด้วยรูปแบบการประเมินที่เปลี่ยนไปของ PISA 2015 สถาบันส่งเสิรมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนาระบบสารสนเทศที่เรียกว่า “ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA ที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่” เพื่อเผยแพร่ตัวอย่างข้อสอบ PISA ให้นักเรียนและผู้สนใจได้ฝึกทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://pisaitems.ipst.ac.th

การประเมินด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของ PISA 2015

โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) ประเมินสมรรถนะของนักเรียนในการใช้ความรู้และทักษะสามด้านได้แก่ การรู้เรื่องการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ได้มีการประเมินด้านการแก้ปัญหา (Problem Solving) ใน PISA 2003 และ PISA 2012 โดยทั้งสองครั้ง เป็นการประเมินการใช้ทักษะการแก้ปัญหาจากโจทย์ที่เป็นสถานการณ์ในชีวิตจริง และเป็นการทำข้อสอบในเล่มแบทดสอบ แต่ PISA 2015 ได้เปลี่ยนมาเป็นการประเมินด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) และทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์

แผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ PISA

แผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ PISA เพื่อนำเสนอข้อมูลสำหรับการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ในการเข้าร่วมโครงการ PISA 2015 ที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558

แผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ PISA

แผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ PISA เพื่อนำเสนอข้อมูลสำหรับการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ในการเข้าร่วมโครงการ PISA 2015 ที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558

การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการ TIMSS 2015 และโครงการ PISA 2015 ครั้งที่ 2/2557

สาขาวิจัย สสวท. จัดประชุมคณะกรรมการอํานวยการโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (TIMSS 2015) และโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA 2015) ครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2557 ณ ห้องประชุมสนั่น สุมิตร ชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ สสวท.

การประเมินการรู้เรื่องการอ่านของ PISA 2015

“การรู้เรื่องการอ่าน” (Reading Literacy) เป็นหนึ่งในสามด้านของการประเมินในโครงการ PISA ซึ่งมีความหมายมากกว่าเพียงการ ประเมินการ “อ่านออก” และ “เขียนได้” เท่านั้น ใน PISA 2015 จะมีการเปลี่ยนรูปแบบการสอบเป็นให้นักเรียนทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์(Computer-based) และจะจัดการประเมินในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558

1 4 5 6