Growth Mindset ของนักเรียน จากผลการประเมิน PISA 2018

กรอบความคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset คือความเชื่อว่าความสามารถหรือสติปัญญาของบุคคลสามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา โดยบุคคลที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตจะเป็นคนที่ชอบท้าทาย มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ มีความมุมานะที่จะแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรค ไม่ท้อถอยหรือกลัวความล้มเหลว และมีความคิดสร้างสรรค์

รายงาน PISA 2018 ฉบับสมบูรณ์ และข้อสอบสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก เผยแพร่แล้ว

ดาวน์โหลดฟรี รายงานผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์) และฝึกทำโจทย์มาใหม่จำนวน 5 เรื่อง จากตัวอย่างข้อสอบ PISA : สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก

ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

การประเมิน PISA 2018 เน้นการอ่านเป็นการประเมินหลักครั้งที่สามถัดจาก PISA 2000 และ PISA 2009 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มของ
การเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้ด้านการอ่านของนักเรียนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ซึ่งรายงานฉบับนี้จะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมิน PISA 2018
ทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาต่อไป

ผลการประเมินสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก (Global Competence)

การประเมินสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลกใน PISA 2018 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่านักเรียนได้รับการเตรียมพร้อมให้มีความสามารถเพียงใดที่จะอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม การประเมินเก็บข้อมูลจากการให้นักเรียนทำแบบสอบถามและแบบทดสอบ โดยมีประเทศ เข้าร่วมเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 66 ประเทศ และมีประเทศ ที่เข้าร่วมเก็บข้อมูลทั้งจากแบบสอบถามและแบบทดสอบ จำนวน 27 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

ผลการประเมินสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก

นอกจากการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการประเมินแล้ว ใน PISA 2018 ยังได้เพิ่มการประเมินมิติใหม่อีกด้านหนึ่ง นั่นคือ การประเมิน “สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก” ซึ่งเป็นเรื่องใหม่และเป็นความท้าทายสำหรับระบบการศึกษาในการสร้างเยาวชนให้มีความสามารถที่จะปฏิบัติตนให้มีคุณภาพและประสบความสำเร็จไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกก็ตาม

การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนของครูส่งผลต่อผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียนอย่างไร

ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งครูไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาด้านผลการเรียนรู้ของนักเรียนเท่านั้น แต่รวมไปถึงการพัฒนาทางด้านพฤติกรรม อารมณ์ และสังคมของนักเรียนด้วย ทั้งนี้ในปัจจุบันโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง ครูจึงต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนและผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ (Facilitator)

การร่วมมือกันและการแข่งขันกันของผู้เรียนมีความสัมพันธ์อย่างไรกับผลการประเมินด้านการอ่านใน PISA 2018

บรรยากาศในการเรียนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของนักเรียน มีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่น่าสนใจ 2 รูปแบบ คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบแข่งขัน ซึ่งในการประเมิน PISA 2018 ได้ทำการสำรวจแล้วจัดทำเป็นดัชนีหาความสัมพันธ์กับผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียน

ข้อค้นพบจาก PISA 2018: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการประเมินด้านการอ่าน

ผลการประเมินด้านการอ่านของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการประเมิน PISA 2018 ที่ผ่านมาพบว่า มี 3 ปัจจัยที่มีความสำคัญและสัมพันธ์กับคะแนนการอ่านของประเทศไทย ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้อาจใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการส่งเสริมสมรรถนะด้านการอ่านของนักเรียนไทย

[INFOGRAPHICS] ผลประเมิน PISA 2018 รู้แล้วทำอะไรได้บ้าง

นอกจากการทำแบบทดสอบแล้ว โปรแกรม PISA ยังเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามนักเรียนและผู้บริหารโรงเรียนร่วมด้วย . สำหรับ PISA 2018 ที่ผ่านมา การพิจารณาผลการประเมินร่วมกับข้อมูลในส่วนอื่น ๆ ทำให้เราได้รู้ว่า ประเทศไทยน่าจะทำอะไรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ตามไปดูกันเลย

1 2 4