Growth Mindset ของนักเรียน จากผลการประเมิน PISA 2018

กรอบความคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset คือความเชื่อว่าความสามารถหรือสติปัญญาของบุคคลสามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา โดยบุคคลที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตจะเป็นคนที่ชอบท้าทาย มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ มีความมุมานะที่จะแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรค ไม่ท้อถอยหรือกลัวความล้มเหลว และมีความคิดสร้างสรรค์

[INFOGRAPHICS] การมีกรอบความคิดแบบเติบโตของนักเรียนไทย ผลจากการประเมิน PISA 2018

PISA 2018 ได้ให้ความสำคัญในการวิเคราะห์เชิงลึกของปัจจัยด้านกรอบความคิดแบบเติบโต เนื่องจากสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่มีความไม่แน่นอนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พลเมืองในสังคมจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ซึ่งบางครั้งก็อาจนำไปสู่ความล้มเหลว

สะท้อนประเด็นจากผลการประเมิน PISA ด้านการอ่าน

บทความนี้ได้เสนอแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนของการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading Literacy) ตั้งแต่ PISA 2000 จนถึง PISA 2018 พร้อมบทวิเคราะห์ที่ชี้ถึงปัจจัยในการยกระดับความสามารถทางการอ่านของนักเรียน

[INFOGRAPHICS] ตัวอย่างข้อสอบความคิดสร้างสรรค์ PISA 2022

ใน PISA 2022 นอกจากจะประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีการประเมินนวัตกรรมอีกหนึ่งด้าน คือ ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ด้วย โดยตัวอย่างข้อสอบความคิดสร้างสรรค์ต่อไปนี้นำมาจากกรอบการประเมินความคิดสร้างสรรค์ของ PISA 2022 ซึ่งประกอบด้วยข้อสอบการแสดงแนวคิดด้วยการเขียนบรรยาย ข้อสอบการแสดงแนวคิดด้วยภาพ ข้อสอบการแก้ปัญหาด้านสังคม และข้อสอบการแก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์

[INFOGRAPHICS] การประเมินความคิดสร้างสรรค์ใน PISA 2022

PISA เลือกใช้นิยามของความคิดสร้างสรรค์ที่สัมพันธ์กับนักเรียนอายุ 15 ปี ทั่วโลก โดยความคิดสร้างสรรค์ใน PISA 2022 มีนิยามว่า ความสามารถในการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้าง ประเมิน และปรับปรุง แนวคิด ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่และมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาองค์ความรู้ และเป็นการแสดงออกถึงจินตนาการที่เกิดประโยชน์

[INFOGRAPHICS] ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการอ่านและแนวทางในการยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทย” ตอนที่ 7/7

อินโฟกราฟิกฉบับนี้ ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนกลุ่มช้างเผือกของไทย” (นักเรียนที่ด้อยเปรียบกับผลการประเมินที่เหนือความคาดหมาย) เพื่อใช้ในการส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทย

1 2 4