การร่วมมือกันและการแข่งขันกันของผู้เรียนมีความสัมพันธ์อย่างไรกับผลการประเมินด้านการอ่านใน PISA 2018

บรรยากาศในการเรียนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของนักเรียน มีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่น่าสนใจ 2 รูปแบบ คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบแข่งขัน ซึ่งในการประเมิน PISA 2018 ได้ทำการสำรวจแล้วจัดทำเป็นดัชนีหาความสัมพันธ์กับผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียน

ข้อค้นพบจาก PISA 2018: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการประเมินด้านการอ่าน

ผลการประเมินด้านการอ่านของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการประเมิน PISA 2018 ที่ผ่านมาพบว่า มี 3 ปัจจัยที่มีความสำคัญและสัมพันธ์กับคะแนนการอ่านของประเทศไทย ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้อาจใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการส่งเสริมสมรรถนะด้านการอ่านของนักเรียนไทย

[INFOGRAPHICS] ผลประเมิน PISA 2018 รู้แล้วทำอะไรได้บ้าง

นอกจากการทำแบบทดสอบแล้ว โปรแกรม PISA ยังเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามนักเรียนและผู้บริหารโรงเรียนร่วมด้วย . สำหรับ PISA 2018 ที่ผ่านมา การพิจารณาผลการประเมินร่วมกับข้อมูลในส่วนอื่น ๆ ทำให้เราได้รู้ว่า ประเทศไทยน่าจะทำอะไรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ตามไปดูกันเลย

ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง

นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศสมาชิก OECD และเมื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน PISA 2015 กับ PISA 2018 พบว่า ด้านการอ่านมีคะแนนลดลงประมาณ 16 คะแนน ส่วนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีคะแนนเพิ่มขึ้นประมาณ 3 คะแนน และ 4 คะแนน ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนตั้งแต่การประเมินรอบแรกจนถึงปัจจุบัน พบว่า ผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของไทยไม่เปลี่ยนแปลง แต่ผลการประเมินด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

[INFOGRAPHICS] ผลการประเมิน PISA 2018

Infographic สรุปผลการประเมิน PISA 2018 ผลการประเมินด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของไทยมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง แต่ผลการประเมินด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่แนวโน้มที่ดีก็มี ได้แก่ การเพิ่มจำนวนขึ้นของนักเรียนไทยที่มีความสามารถระดับสูงในด้านด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กลุ่มที่มีความสามารถต่ำกว่าระดับพื้นฐานมีจำนวนน้อยลง และนักเรียนที่ด้อยโอกาส สามารถทำคะแนนการอ่านอยู่ในกลุ่มเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไป มีจำนวนถึง 13% มากกว่าค่าเฉลี่ย OECD (11%)

ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

PISA 2018 เป็นรอบที่การประเมินด้านการอ่านกลับมาเป็นการประเมินหลักอีกครั้ง ซึ่งได้มีการปรับกรอบโครงสร้างการประเมินด้านการอ่านเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามบริบทหรือสถานการณ์ของการอ่านของโลกในปัจจุบันที่เป็นดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการประเมินของ PISA ที่ทำแบบทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนอายุ 15 ปี ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดิจิทัลแต่ก็ยังคงสามารถวัดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนเทียบกับอดีตที่ผ่านมาถึงสองทศวรรษ

ผลการประเมิน PISA 2018

ผลการประเมิน PISA 2018 ในระดับนานาชาติ พบว่า นักเรียนจากจีนสี่มณฑล (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เจียงซู และเจ้อเจียง) และสิงคโปร์ มีคะแนนทั้งสามด้าน
สูงกว่าทุกประเทศ/เขตเศรษฐกิจ สำหรับประเทศที่มีคะแนนสูงสุดห้าอันดับแรกในด้านการอ่านซึ่งเป็นด้านที่เน้นในรอบการประเมินนี้ ได้แก่ จีนสี่มณฑล สิงคโปร์ มาเก๊า ฮ่องกง และเอสโตเนีย สำหรับผลการประเมินของประเทศไทย นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยในด้านการอ่าน 393 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 487 คะแนน) คณิตศาสตร์ 419 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 489 คะแนน) และวิทยาศาสตร์ 426 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 489 คะแนน)

ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

PISA 2015 เน้นวิทยาศาสตร์เป็นการประเมินหลักครั้งที่สองถัดจาก PISA 2006 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครู การจัดสรรทรัพยากร

ประเด็นหลักและนัยทางการศึกษาจาก PISA 2015: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

PISA 2015 เก็บข้อมูลด้านต่าง ๆ ของระบบโรงเรียน จากรายงานของนักเรียน ครู และครูใหญ่ เกี่ยวกับระบบโรงเรียน วิธีการหรือแนวปฏิบัติ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทางการเรียน ทำให้สามารถให้ข้อมูลด้านวิธีการปฏิบัติของระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่สำคัญมากในระบบโรงเรียนคือทรัพยากร ทั้งในด้านงบประมาณและการลงทุนทางการศึกษา ซึ่งจะชี้ว่า ระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จนั้นเขาทำกันอย่างไร

PISA กับประเทศไทย: ความจริงที่ต้องยอมรับ

คุณภาพการศึกษาไทยยังห่างไกลความเป็นเลิศ การแก้ไขปรับปรุงจึงเป็นเรื่องรีบด่วน ผลการวิจัยที่ชี้ ความอ่อนด้อยน่าจะเป็นจุดเริ่มของการแก้ไขที่ถูกจุดทั้งในด้านการจัดการทางการศึกษา สังคมและวัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมการไม่คิด เชิงวิพากษ์วิจารณ์ ความนิยมในการที่ต้องให้ผู้อื่นบอก การกวดวิชาก็เป็นผลพวงจากความนิยมนี้ ตัวแปรเหล่านี้ ผลการวิจัยชี้ชัดว่า ส่งผลกระทบทางลบต่อคุณภาพการศึกษา

1 2 3 4