[INFOGRAPHICS] ขั้นตอนการดำเนินงาน PISA ในประเทศไทย
Infographic แสดงขั้นตอนการดำเนินงาน PISA ในประเทศไทย โดยมี สสวท. ทําหน้าที่เป็นศูนย์แห่งชาติ (National Center) รับผิดชอบดําเนินงานวิจัยโปรแกรม PISA ตามข้อกําหนดและมาตรฐานที่ OECD กําหนด
สื่ออื่น ๆ ที่จัดทำหรือดัดแปลง และเผยแพร่โดย PISA THAILAND
Infographic แสดงขั้นตอนการดำเนินงาน PISA ในประเทศไทย โดยมี สสวท. ทําหน้าที่เป็นศูนย์แห่งชาติ (National Center) รับผิดชอบดําเนินงานวิจัยโปรแกรม PISA ตามข้อกําหนดและมาตรฐานที่ OECD กําหนด
Infographic แสดงความเชื่อที่ไม่เป็นจริงและคำอธิบายที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัยของ PISA
Infographic สรุปผลการประเมิน PISA 2018 ผลการประเมินด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของไทยมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง แต่ผลการประเมินด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่แนวโน้มที่ดีก็มี ได้แก่ การเพิ่มจำนวนขึ้นของนักเรียนไทยที่มีความสามารถระดับสูงในด้านด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กลุ่มที่มีความสามารถต่ำกว่าระดับพื้นฐานมีจำนวนน้อยลง และนักเรียนที่ด้อยโอกาส สามารถทำคะแนนการอ่านอยู่ในกลุ่มเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไป มีจำนวนถึง 13% มากกว่าค่าเฉลี่ย OECD (11%)
เอกสารเผยแพร่โดย สสวท. มีเนื้อหาประกอบด้วยโจทย์ปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบัน การเสนอแนวคิดในการแก้โจทย์ปัญหาซึ่งผู้อ่าน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และแม้แต่นักเรียนเองสามารถนำโจทย์ปัญหาเหล่านั้นมาใช้ในการฝึกฝน เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ การใหให้เหตุผล และการนำความรู้คณิตศาสตร์ที่เรียนมาไปใช้แก้ปัญหา อันเป็นสมรรถนะสำคัญที่พึงบังเกิดกับผู้เรียน ในอันที่จะเป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการดำรงชีวิตที่ดีต่อไป
นักการศึกษาควรตระหนักถึงความสำคัญของความรู้สึกวิตกกังวลต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียน เนื่องจากความวิตกกังวลมีความเกี่ยวข้องกับคะแนนคณิตศาสตร์ ยิ่งมีความวิตกกังวลมากขึ้น คะแนนคณิตศาสตร์จะต่ำลง นอกจากนี้การปฏิบัติของครูต่อนักเรียนในระหว่างเรียนก็มีส่วนสำคัญ เช่น การบอกนักเรียนว่า นักเรียนจะทำคะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนได้ดีอย่างไร การให้ข้อมูลป้อนกลับถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ และการบอกนักเรียนว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้คะแนนคณิตศาสตร์ดีขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความความวิตกกังวลของนักเรียนให้น้อยลงได้
ระบบโรงเรียนในประเทศที่มีคะแนน PISA สูง จะสามารถจัดสรรทรัพยากรการเรียนได้อย่างเท่าเทียมกันไม่ว่า โรงเรียนจะมีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงหรือต่ำก็ตาม และการสนับสนุนโรงเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและ สังคมต่ำไม่จำเป็นต้องจัดหาทรัพยากรการเรียนให้โรงเรียนเหล่านั้นมากขึ้น แต่ควรจัดหาทรัพยากรการเรียนและทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูงต่างหาก
ด้วยรูปแบบการประเมินที่เปลี่ยนไปของ PISA 2015 สถาบันส่งเสิรมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนาระบบสารสนเทศที่เรียกว่า “ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA ที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่” เพื่อเผยแพร่ตัวอย่างข้อสอบ PISA ให้นักเรียนและผู้สนใจได้ฝึกทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://pisaitems.ipst.ac.th
ความแตกต่างในความสามารถทางวิชาการระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ไม่ได้เป็นเพราะความแตกต่างของความสามารถที่มีมาตั้งแต่กำเนิด พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้นำและผู้วางนโยบายทางการศึกษา จึงควรร่วมกันหาแนวทางที่จะช่วยลดช่องว่างของความแตกต่างระหว่างเพศในการศึกษา เพื่อให้ทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายรู้ถึงศักยภาพแท้จริงที่ตนเองมี อันจะนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่นักเรียนอยู่ให้ดีขึ้นต่อไป
วีดีทัศน์แนะนำเว็บไซต์และเสียงตอบรับจากผู้ใช้งาน ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA ซึ่ง สสวท. จัดทำเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สนใจได้ทดลองทำข้อสอบ PISA ที่อนุญาตให้เผยแพร่ได้ผ่านทางเว็บไซต์
สสวท. ได้จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ PISA พื่อให้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) เผยแพร่ออนไลน์ 24 ก.พ. 2558