[INFOGRAPHICS] นักเรียนที่ด้อยเปรียบกับผลการประเมินที่เหนือความคาดหมาย
Facebook: IPST Thailand ได้จัดทำ Infographics ของบทความ Focus ประเด็นจาก PISA ฉบับที่ 50 (กุมภาพันธ์ 2563) “นักเรียนที่ด้อยเปรียบกับผลการประเมินที่เหนือความคาดหมาย”
Facebook: IPST Thailand ได้จัดทำ Infographics ของบทความ Focus ประเด็นจาก PISA ฉบับที่ 50 (กุมภาพันธ์ 2563) “นักเรียนที่ด้อยเปรียบกับผลการประเมินที่เหนือความคาดหมาย”
Facebook: IPST Thailand ได้จัดทำ Infographics ของบทความ Focus ประเด็นจาก PISA ฉบับที่ 49 (มกราคม 2563) “ข้อค้นพบจาก PISA 2018 เกี่ยวกับกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset)”
นอกจากการทำแบบทดสอบแล้ว โปรแกรม PISA ยังเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามนักเรียนและผู้บริหารโรงเรียนร่วมด้วย . สำหรับ PISA 2018 ที่ผ่านมา การพิจารณาผลการประเมินร่วมกับข้อมูลในส่วนอื่น ๆ ทำให้เราได้รู้ว่า ประเทศไทยน่าจะทำอะไรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ตามไปดูกันเลย
เกาหลีใต้และฟินแลนด์มีระบบการศึกษาที่ต่างกันสุดขั้ว แต่ทั้งสองประเทศมี “ครูชั้นเยี่ยม” ที่รู้ภารกิจและหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี และอาชีพครูเป็นอาชีพมีเกียรติที่ใคร ๆ ก็อยากเป็น ลองดูจุดเด่นด้านการศึกษาของทั้งสองประเทศ แล้วช่วยกันคิดซิว่า มีวิธีการใดบ้างที่ประเทศไทยนำมาปรับใช้ได้
การรู้เรื่องการอ่าน หรือ Reading Literacy ไม่ใช่เพียงแค่การอ่านออก เขียนได้เท่านั้น แต่ต้อง เข้าใจเนื้อเรื่อง อินไปกับเรื่องที่อ่าน นำเนื้อหาที่อ่านเข้าใจได้ไปใช้ ประเมินเรื่องที่อ่านได้ และคิดเห็นอย่างไรต้องสะท้อนความคิดออกมาได้ด้วย เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย พัฒนาความรู้และศักยภาพตนเอง และมีส่วนร่วมในสังคม
ผลคะแนน PISA 2015 ชี้ชัดว่าเวียดนามและเซี่ยงไฮ้ (ในที่นี้ ขอเรียกรวมๆ สี่มณฑลจีนว่า เซี่ยงไฮ้) ต้องมีอะไรดีแน่ ๆ ที่ทำให้คะแนน PISA 2015 สูงเป็นอันดับต้น ๆ และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่ม OECD ในขณะที่ประเทศไทยไม่อยู่ในกลุ่มคะแนนสูง แถมยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
Infographic แสดงขั้นตอนการดำเนินงาน PISA ในประเทศไทย โดยมี สสวท. ทําหน้าที่เป็นศูนย์แห่งชาติ (National Center) รับผิดชอบดําเนินงานวิจัยโปรแกรม PISA ตามข้อกําหนดและมาตรฐานที่ OECD กําหนด
Infographic แสดงความเชื่อที่ไม่เป็นจริงและคำอธิบายที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัยของ PISA
Infographic สรุปผลการประเมิน PISA 2018 ผลการประเมินด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของไทยมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง แต่ผลการประเมินด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่แนวโน้มที่ดีก็มี ได้แก่ การเพิ่มจำนวนขึ้นของนักเรียนไทยที่มีความสามารถระดับสูงในด้านด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กลุ่มที่มีความสามารถต่ำกว่าระดับพื้นฐานมีจำนวนน้อยลง และนักเรียนที่ด้อยโอกาส สามารถทำคะแนนการอ่านอยู่ในกลุ่มเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไป มีจำนวนถึง 13% มากกว่าค่าเฉลี่ย OECD (11%)