PISA in FOCUS: คณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนเกิดความวิตกกังวลหรือไม่?

นักการศึกษาควรตระหนักถึงความสำคัญของความรู้สึกวิตกกังวลต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียน เนื่องจากความวิตกกังวลมีความเกี่ยวข้องกับคะแนนคณิตศาสตร์ ยิ่งมีความวิตกกังวลมากขึ้น คะแนนคณิตศาสตร์จะต่ำลง นอกจากนี้การปฏิบัติของครูต่อนักเรียนในระหว่างเรียนก็มีส่วนสำคัญ เช่น การบอกนักเรียนว่า นักเรียนจะทำคะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนได้ดีอย่างไร การให้ข้อมูลป้อนกลับถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ และการบอกนักเรียนว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้คะแนนคณิตศาสตร์ดีขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความความวิตกกังวลของนักเรียนให้น้อยลงได้

PISA in FOCUS: การจัดสรรทรัพยากรการเรียนอย่างเท่าเทียม สัมพันธ์กับผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร

ระบบโรงเรียนในประเทศที่มีคะแนน PISA สูง จะสามารถจัดสรรทรัพยากรการเรียนได้อย่างเท่าเทียมกันไม่ว่า โรงเรียนจะมีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงหรือต่ำก็ตาม และการสนับสนุนโรงเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและ สังคมต่ำไม่จำเป็นต้องจัดหาทรัพยากรการเรียนให้โรงเรียนเหล่านั้นมากขึ้น แต่ควรจัดหาทรัพยากรการเรียนและทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูงต่างหาก

ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA ที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่

ด้วยรูปแบบการประเมินที่เปลี่ยนไปของ PISA 2015 สถาบันส่งเสิรมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนาระบบสารสนเทศที่เรียกว่า “ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA ที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่” เพื่อเผยแพร่ตัวอย่างข้อสอบ PISA ให้นักเรียนและผู้สนใจได้ฝึกทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://pisaitems.ipst.ac.th

PISA in FOCUS: ผลการประเมิน PISA ระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย

ความแตกต่างในความสามารถทางวิชาการระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ไม่ได้เป็นเพราะความแตกต่างของความสามารถที่มีมาตั้งแต่กำเนิด พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้นำและผู้วางนโยบายทางการศึกษา จึงควรร่วมกันหาแนวทางที่จะช่วยลดช่องว่างของความแตกต่างระหว่างเพศในการศึกษา เพื่อให้ทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายรู้ถึงศักยภาพแท้จริงที่ตนเองมี อันจะนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่นักเรียนอยู่ให้ดีขึ้นต่อไป

การประเมินด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของ PISA 2015

โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) ประเมินสมรรถนะของนักเรียนในการใช้ความรู้และทักษะสามด้านได้แก่ การรู้เรื่องการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ได้มีการประเมินด้านการแก้ปัญหา (Problem Solving) ใน PISA 2003 และ PISA 2012 โดยทั้งสองครั้ง เป็นการประเมินการใช้ทักษะการแก้ปัญหาจากโจทย์ที่เป็นสถานการณ์ในชีวิตจริง และเป็นการทำข้อสอบในเล่มแบทดสอบ แต่ PISA 2015 ได้เปลี่ยนมาเป็นการประเมินด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) และทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์

การประเมินการรู้เรื่องการอ่านของ PISA 2015

“การรู้เรื่องการอ่าน” (Reading Literacy) เป็นหนึ่งในสามด้านของการประเมินในโครงการ PISA ซึ่งมีความหมายมากกว่าเพียงการ ประเมินการ “อ่านออก” และ “เขียนได้” เท่านั้น ใน PISA 2015 จะมีการเปลี่ยนรูปแบบการสอบเป็นให้นักเรียนทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์(Computer-based) และจะจัดการประเมินในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558

การประเมินการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของ PISA 2015

แม้ว่าในการประเมินรอบต่อไปของ PISA 2015 ที่จะมีขึ้น ในปี พ.ศ. 2558 จะไม่ได้เน้นการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เป็นวิชาหลักของการประเมิน แต่ด้วยรูปแบบการสอบที่เปลี่ยนไปของ PISA 2015 ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการทำแบบทดสอบ (Computer based) นั้น ข้อสอบด้านนี้ก็มีจุดน่าสนใจอยู่หลายประเด็นจึงอยากชวนท่านผู้อ่านมาดูกันว่าแบบทดสอบคณิตศาสตร์ของ PISA 2015 จะเป็นรูปแบบใด

การประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของ PISA 2015

การประเมินจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3 ปี ในแต่ละครั้งจะประเมินครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน แต่ให้น้ำหนักด้านใดด้านหนึ่งเป็นหลัก และอีก 2 ด้านเป็นรอง โดยปัจจุบันเข้าสู่การประเมินผล PISA 2015 ซึ่งประเทศไทยจะจัดสอบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ในครั้งนี้เน้นการประเมินด้านวิทยาศาสตร์ และให้นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ในการทำแบบทดสอบ