ความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนมีผลต่อการเรียนรู้อย่างไร

โรงเรียนไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ให้นักเรียนได้รับความรู้และทักษะทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังให้สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่นักเรียนจะสามารถพัฒนาสมรรถนะทางอารมณ์และสังคม ข้อมูลจาก PISA 2015 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความแตกต่างกันมาก ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ในด้านของความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ แรงจูงใจในความสำเร็จ ความวิตกกังวลกับการเรียน ความคาดหวังต่อชีวิตในอนาคต ประสบการณ์จากการถูกเพื่อนข่มขู่รังแก และการรับรู้ถึงการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากครู สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงวินัยในห้องเรียนและการปฏิบัติของครูที่มีต่อนักเรียน

เป้าหมายการจัดการเรียนการสอนสู่สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก

การศึกษาที่จะให้รู้จักโลก ไม่ใช่การสอนความรู้ในหัวข้อสังคมศาสตร์หรือภาษาต่างประเทศ สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก ในกรณีนี้ หมายถึง ความสามารถที่จะอยู่ได้อย่างปกติสุขและยั่งยืนในโลกที่เป็นเสมือนสังคมเดียวกัน ซึ่งจะรวมถึงเจตคติ และค่านิยมที่ทำให้พลเมืองโลกเข้าใจซึ่งกันและกัน นักการศึกษาหลายคนได้นึกไปถึงการสร้างหลักสูตรใหม่ แต่นั่นไม่ใช่หัวใจสำคัญหากแต่เป็นความพยายามที่จะบูรณาการลงไปในการสอนทุกวิชาและทุกระดับชั้นที่สามารถนำไปสู่สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลกได้

สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก (Global Competence) ใน PISA 2018

เป้าหมายของการศึกษานอกจากทำให้นักเรียนได้เรียนรู้วิชาการแล้ว ยังต้องเตรียมเยาวชนให้มีความสามารถที่จะอยู่และปฏิบัติงานได้สำเร็จในประชาคมโลกด้วย PISA จึงมีการประเมินความสามารถทั่วโลก เพื่อจะตรวจสอบและให้ข้อมูลว่าระบบการศึกษาได้เตรียมเยาวชนให้เป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพหรือไม่ เพียงใด หรืออีกนัยหนึ่ง ผลการประเมินจะเป็นตัวชี้นัยว่าประชาคมโลกในอนาคตจะอยู่กันอย่างสมัครสมานสามัคคีได้ดีหรือไม่ เพียงใด

การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ : PISA วัดอย่างไร

การประเมินผลของ PISA ปกติมีทุกรอบสามปี และมีการประเมินสามด้านหลัก คือ การอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เนื่องจากเป็นที่ตระหนักว่าการทำงานในโลกสมัยใหม่นั้น ทักษะเฉพาะส่วนบุคคลไม่เพียงพอสำหรับการทำงานเพราะงานสมัยใหม่ต้องการทักษะมากกว่านั้น และทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการแก้ปัญหา ซึ่งต้องมีการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ดังนั้น PISA 2015 จึงก้าวไปไกลกว่าการวัดความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยตนเองเพียงลำพัง มาเป็นการวัดความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในสถานการณ์ที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

ประเทศไหนได้ประโยชน์จาก PISA

ระบบโรงเรียนที่ได้ประโยชน์จาก PISA คือ ระบบที่ระดับนโยบายตอบสนองรายงานผลการประเมินอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในประเทศคะแนนต่ำ หลายประเทศมีการพัฒนายกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน และได้เห็นผลการพัฒนาว่าทำให้นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะยังไปไม่ถึงความเป็นเลิศก็ตาม ประเทศที่เคยมีคะแนนใกล้เคียงกับไทยก็หนีห่างออกไป

การสร้างนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต

ความคาดหวังต่ออาชีพการงานในอนาคตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการประเมินวิทยาศาสตร์ ในเกือบทุกประเทศ/เขตเศรษฐกิจความคาดหวังจะทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กับความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ผลการวิจัยชี้ว่าในกลุ่มนักเรียนที่มีผลการประเมินสูง นักเรียนมากกว่าครึ่งต้องการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยกับนักเรียนในภูมิภาคเอเชีย

วิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยยังล้าหลังประเทศอื่น โดยเฉพาะในเอเชียด้วยกัน นักเรียนที่มีผลการประเมินระดับสูงมีน้อยมาก ผลการประเมินยังชี้ถึงช่องที่กว้างของความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาที่นักเรียนวัยเดียวกันแสดงว่ารู้เรื่องวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างเทียบเท่าการเรียนที่ต่างกันหลายปี ซึ่งเป็นอันตรายต่องานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติเพราะในกลุ่มนักเรียนที่มีผลการประเมินสูงเท่านั้นที่ต้องการทำงานด้านนี้

การกำกับดูแลที่มีประสิทธิผลส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้

อำนาจอิสระและความสำนึกในหน้าที่รับผิดชอบขององค์กรมีผลต่อการยกระดับผลงานขององค์กร เช่นเดียวกันกับในการศึกษา ข้อมูลชี้ว่าอำนาจการตัดสินใจด้านหลักสูตรและการสอน ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผลการเรียนรู้ แต่คะแนนที่สูงนั้นต้องเชื่อมโยงกับนโยบายการควบคุมคุณภาพของมาตรฐานการศึกษาด้วย นอกจากนี้อำนาจอิสระยังมีความสัมพันธ์การปฏิบัติภาระหน้าที่ให้โรงเรียนเป็นที่ไว้วางใจด้วย

ตัวแปรจากระบบโรงเรียนที่ส่งผลหรือไม่ส่งผลต่อการเรียนรู้

การที่นักเรียนมีผลการประเมินต่ำมีเหตุปัจจัยประกอบหลายอย่างที่ PISA ได้เสนอให้เห็นแล้วว่า ระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จนั้นทำกันอย่างไร การที่นักเรียนมีผลการเรียนรู้ต่ำมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการจัดการและแนวปฏิบัติในระบบซึ่งข้อมูลได้ชี้แนะว่า การจัดการแบบใดส่งผลทางบวกหรือไม่ แต่นโยบายแนวปฏิบัติในระบบโรงเรียนไทยมักยึดแนวที่ไม่ส่งผลทางบวกมากนัก

จุดอ่อนในระบบการศึกษาไทย

ผลการประเมินวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยไม่เปลี่ยนแปลงจากเมื่อสิบปีที่แล้วยังคงมีคะแนนต่ำและคงที่ ผลการวิจัยชี้ถึงหลายตัวแปรทางระบบโรงเรียนที่ส่งผลกระทบต่อคะแนนที่ต่ำ เป็นต้นว่า ความเท่าเทียมทางการศึกษา แนวปฏิบัติในระบบโรงเรียน เวลาเรียน และ ครู

1 3 4 5 6