FAKE News กับความฉลาดรู้ด้านการอ่านของ PISA

โลกยุคดิจิทัลในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้ธรรมชาติของการอ่านได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การอ่านในโลกดิจิทัลจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น บางครั้งความรวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูลก็อาจมาก่อนคุณภาพของข้อมูล สิ่งนี้จึงก่อให้เกิด “ข่าวปลอม” (FAKE News) หรือข้อมูลที่อาจจะบิดเบือนจากความเป็นจริง ซึ่งสะท้อนถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ที่ความเชื่อหรือความคิดเห็นส่วนบุคคลมีอิทธิพลในการกำหนดความเห็นของสาธารณชน

การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนของครูส่งผลต่อผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียนอย่างไร

ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งครูไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาด้านผลการเรียนรู้ของนักเรียนเท่านั้น แต่รวมไปถึงการพัฒนาทางด้านพฤติกรรม อารมณ์ และสังคมของนักเรียนด้วย ทั้งนี้ในปัจจุบันโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง ครูจึงต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนและผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ (Facilitator)

การร่วมมือกันและการแข่งขันกันของผู้เรียนมีความสัมพันธ์อย่างไรกับผลการประเมินด้านการอ่านใน PISA 2018

บรรยากาศในการเรียนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของนักเรียน มีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่น่าสนใจ 2 รูปแบบ คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบแข่งขัน ซึ่งในการประเมิน PISA 2018 ได้ทำการสำรวจแล้วจัดทำเป็นดัชนีหาความสัมพันธ์กับผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียน

ข้อค้นพบจาก PISA 2018: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการประเมินด้านการอ่าน

ผลการประเมินด้านการอ่านของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการประเมิน PISA 2018 ที่ผ่านมาพบว่า มี 3 ปัจจัยที่มีความสำคัญและสัมพันธ์กับคะแนนการอ่านของประเทศไทย ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้อาจใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการส่งเสริมสมรรถนะด้านการอ่านของนักเรียนไทย

การกลั่นแกล้งในโรงเรียนจากมุมมองของ PISA

PISA 2018 ได้สอบถามนักเรียนถึงประสบการณ์เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในโรงเรียน โดยข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปวิเคราะห์เป็น “ค่าดัชนีการถูกกลั่นแกล้ง” (Index of exposure to bullying) และพบว่าค่าดัชนีดังกล่าวนี้ส่งผลทางลบต่อผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียน นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนที่ถูกกลั่นแกล้งเป็นประจำจะรู้สึกเศร้าใจ หวาดกลัว และไม่พึงพอใจกับชีวิตมากกว่านักเรียนที่ไม่ได้ถูกกลั่นแกล้งเป็นประจำ การกลั่นแกล้งจึงมักเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงและอาจลุกลามไปเป็นปัญหาที่ติดตัวนักเรียนไปในอนาคตหรืออาจนำไปสู่การสูญเสียในที่สุด

PISA 2021 กับการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์

การประเมิน PISA 2021 ที่กำลังจะมาถึงนี้เป็นการประเมินที่เน้นความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) เป็นหลักเช่นเดียวกับ PISA 2003 และ PISA 2012 กรอบการประเมินของ PISA ถูกออกแบบมาเพื่อให้นักเรียนอายุ 15 ปี ได้เห็นความสำคัญของคณิตศาสตร์และเป็นการสร้างประสบการณ์ให้นักเรียนได้พบเจอสถานการณ์และบริบทที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง โดยวัดกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนผ่านสถานการณ์และบริบทในชีวิตจริง ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังเป็นแกนหลักในการวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ในแต่ละรอบการประเมิน

ความคาดหวังในการประกอบอาชีพของนักเรียนวัย 15 ปี

ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วทำให้มีอาชีพเกิดขึ้นมากมาย การเลือกประกอบอาชีพนับว่ามีความความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากการที่บุคคลสามารถเลือกประกอบอาชีพได้เหมาะสมกับตนเองย่อมส่งผลต่อความสุขและโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว อีกทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศด้วย ในบทความนี้จะเสนอบางประเด็นจาก PISA 2018 ที่ได้สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความคาดหวังในการประกอบอาชีพ

โรงเรียนและนักเรียนมีความพร้อมเพียงใดกับการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์: ข้อค้นพบจาก PISA

จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้โรงเรียนในมากกว่า 190 ประเทศต้องปิดการเรียนการสอนส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียนมากกว่า 1,500 ล้านคนทั่วโลก ดังนั้น การศึกษาผ่านระบบออนไลน์จึงถูกยกระดับจากการเป็นตัวช่วยนอกหลักสูตรมาเป็นวิธีหลักที่จะช่วยให้การเรียนการสอนของระบบการศึกษาทั่วโลกเดินหน้าต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม การมาของวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ได้เผยให้เห็นว่าระบบการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่โลกของการเรียนรู้โดยการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล

นักเรียนที่ด้อยเปรียบกับผลการประเมินที่เหนือความคาดหมาย

การตกอยู่ในสถานะที่ด้อยเปรียบมักถูกทำนายว่าจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำและมีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดี อย่างไรก็ตาม นักเรียนที่ด้อยเปรียบบางส่วนไม่ยอมจำนนต่อโชคชะตา จนสามารถเอาชนะความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญและสามารถประสบความสำเร็จทางการศึกษาได้ ซึ่ง PISA เรียกนักเรียนกลุ่มนี้ว่า นักเรียนที่มีความไม่ย่อท้อทางการศึกษา (Academic Resilient Students) หรือที่ในประเทศไทยนิยมเรียกกันว่า นักเรียนกลุ่มช้างเผือก

ข้อค้นพบจาก PISA 2018 เกี่ยวกับกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset)

กรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) คือ ความเชื่อว่า ความสามารถหรือสติปัญญาของบุคคลสามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา กรอบความคิดแบบเติบโตจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ การไม่หลีกเลี่ยงความท้าทาย การไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลว การเห็นคุณค่าของความพยายาม การเรียนรู้จากคำวิจารณ์ และการมองหาบทเรียนและแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น ซึ่งล้วนเป็นหนทางสู่การประสบความสำเร็จทั้งในด้านการศึกษาและด้านอื่น ๆ ในชีวิต

1 2 6