สะท้อนประเด็นจากผลการประเมิน PISA ด้านการอ่าน

บทความนี้ได้เสนอแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนของการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading Literacy) ตั้งแต่ PISA 2000 จนถึง PISA 2018 พร้อมบทวิเคราะห์ที่ชี้ถึงปัจจัยในการยกระดับความสามารถทางการอ่านของนักเรียน

ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง

นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศสมาชิก OECD และเมื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน PISA 2015 กับ PISA 2018 พบว่า ด้านการอ่านมีคะแนนลดลงประมาณ 16 คะแนน ส่วนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีคะแนนเพิ่มขึ้นประมาณ 3 คะแนน และ 4 คะแนน ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนตั้งแต่การประเมินรอบแรกจนถึงปัจจุบัน พบว่า ผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของไทยไม่เปลี่ยนแปลง แต่ผลการประเมินด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

เทคโนโลยีการสื่อสารกับการเรียนรู้

ประเด็นการให้นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนหรือไม่นั้นมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ถึงแม้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวอาจถูกใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อการเรียน แต่ก็จะเกิดประโยชน์ได้ตราบเท่าที่ผู้ใช้รู้ดีว่าจะใช้อย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยก็สนับสนุนว่า กลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์สูง การใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนสามารถให้ประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ แต่ตรงกันข้ามกับกลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำและผลสัมฤทธิ์ปานกลาง การใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนกลับเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้

โลกรู้อะไรจากผลการประเมิน PISA

PISA เปรียบเหมือน X-ray ในระบบการศึกษาของชาติ แม้จะไม่สามารถแสดงภาพได้หมดทั้งระบบแต่ก็สามารถบอกจุดที่เจ็บป่วยได้ แต่น่าเศร้าที่ระดับนโยบายบางประเทศหลบเลี่ยงที่จะมองจุดที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย แต่กลับพยายามกลบเกลื่อนหรือสร้างภาพขึ้นปิดบังจุดที่เจ็บป่วยนั้นแทนที่จะให้การเยียวยารักษา การวิจัยนานาชาตินี้ไม่ได้ให้ผลเฉพาะคะแนนแต่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลายอย่างที่ชี้แนะถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่ยังถูกเพิกเฉยจากระดับนโยบายทางการศึกษาหลายระบบ

ประเทศไหนได้ประโยชน์จาก PISA

ระบบโรงเรียนที่ได้ประโยชน์จาก PISA คือ ระบบที่ระดับนโยบายตอบสนองรายงานผลการประเมินอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในประเทศคะแนนต่ำ หลายประเทศมีการพัฒนายกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน และได้เห็นผลการพัฒนาว่าทำให้นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะยังไปไม่ถึงความเป็นเลิศก็ตาม ประเทศที่เคยมีคะแนนใกล้เคียงกับไทยก็หนีห่างออกไป

จุดอ่อนในระบบการศึกษาไทย

ผลการประเมินวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยไม่เปลี่ยนแปลงจากเมื่อสิบปีที่แล้วยังคงมีคะแนนต่ำและคงที่ ผลการวิจัยชี้ถึงหลายตัวแปรทางระบบโรงเรียนที่ส่งผลกระทบต่อคะแนนที่ต่ำ เป็นต้นว่า ความเท่าเทียมทางการศึกษา แนวปฏิบัติในระบบโรงเรียน เวลาเรียน และ ครู

PISA กับประเทศไทย: ความจริงที่ต้องยอมรับ

คุณภาพการศึกษาไทยยังห่างไกลความเป็นเลิศ การแก้ไขปรับปรุงจึงเป็นเรื่องรีบด่วน ผลการวิจัยที่ชี้ ความอ่อนด้อยน่าจะเป็นจุดเริ่มของการแก้ไขที่ถูกจุดทั้งในด้านการจัดการทางการศึกษา สังคมและวัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมการไม่คิด เชิงวิพากษ์วิจารณ์ ความนิยมในการที่ต้องให้ผู้อื่นบอก การกวดวิชาก็เป็นผลพวงจากความนิยมนี้ ตัวแปรเหล่านี้ ผลการวิจัยชี้ชัดว่า ส่งผลกระทบทางลบต่อคุณภาพการศึกษา

PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง

การศึกษาของไทยถือว่ามีคุณภาพระดับเทียบเคียงนานาชาติได้ระดับหนึ่ง แต่การศึกษาที่มีคุณภาพนั้นอยู่เพียงใน กทม. เท่านั้น หากสามารถขยายตัวแบบการศึกษาใน กทม. ออกไปใช้ทั่วประเทศอาจทำให้ผลการประเมินสูงขึ้นได้ อนึ่ง PISA ได้ชี้ถึงจุดอ่อนที่ระบบฯ สามารถนำมาพิจารณาเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ทั้งในด้านครู ทรัพยากรการศึกษา ความเท่าเทียมหรือความเป็นธรรมทางการศึกษา การเปลี่ยนหลักสูตรอย่างเดียวจึงไม่ใช่คำตอบ แต่การศึกษาต้องปรับทุกประเด็นแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่เห็นคุณค่าอย่างสูงของการศึกษา การเคารพครู ความขยันและการทำงานหนักก็เป็นองค์ประกอบของการยกระดับคุณภาพการศึกษา