ตัวอย่างข้อสอบการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ PISA 2015 เรื่อง แซนดาร์

ครูของนักเรียนได้จัดนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละสามคนเพื่อแข่งขันกัน กลุ่มที่ชนะคือกลุ่มที่ตอบคำถามจำนวน 12 ข้อเกี่ยวกับประเทศแซนดาร์ได้ถูกต้องเป็นกลุ่มแรก คำตอบหาได้จากการเปิดลิงก์บนแผนที่ของประเทศแซนดาร์

ระบบออนไลน์ข้อสอบ ด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ

ระบบออนไลน์ข้อสอบ ด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้เผยแพร่ตัวอย่างข้อสอบด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving: CPS) ซึ่งเป็นข้อสอบที่สอดคล้องกับแนวทางการประเมินของ PISA 2015

ความสัมพันธ์ในโรงเรียนกับผลการประเมินการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ

ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโรงเรียนส่งผลทำให้คะแนน CPS สูงขึ้น ซึ่งพบทั้งในระดับนักเรียน ระดับโรงเรียน และระดับระบบโรงเรียน สำหรับความสัมพันธ์ในโรงเรียนไทย ข้อมูลไม่ชี้ถึงความสัมพันธ์ที่ดีมากนัก ส่วนความเชื่อมโยงต่าง ๆ เกือบทั้งหมดระหว่างคุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนชี้ถึงบรรยากาศทางวินัยของโรงเรียน

การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

PISA 2015 นอกจากวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลักแล้ว ยังมีการวัดความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CPS ในสถานการณ์ที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นทั้งต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมในปัจจุบัน ในรายงานนี้ได้ชี้ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ

ผลการประเมิน PISA 2015 ด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving: CPS)

สำหรับประเทศไทยมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ 436 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 500 คะแนน) โดยกลุ่มโรงเรียนเน้นวิทยาศาสตร์มีคะแนน 559 คะแนนอยู่ในระดับเดียวกับกลุ่มบนสุดห้าอันดับแรก (Top 5) และกลุ่มโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยมีคะแนน 520 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD ส่วนกลุ่มโรงเรียนอื่น ๆ ยังคงมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD

การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ : PISA วัดอย่างไร

การประเมินผลของ PISA ปกติมีทุกรอบสามปี และมีการประเมินสามด้านหลัก คือ การอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เนื่องจากเป็นที่ตระหนักว่าการทำงานในโลกสมัยใหม่นั้น ทักษะเฉพาะส่วนบุคคลไม่เพียงพอสำหรับการทำงานเพราะงานสมัยใหม่ต้องการทักษะมากกว่านั้น และทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการแก้ปัญหา ซึ่งต้องมีการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ดังนั้น PISA 2015 จึงก้าวไปไกลกว่าการวัดความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยตนเองเพียงลำพัง มาเป็นการวัดความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในสถานการณ์ที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

แผ่นพับการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ

สสวท. ได้จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ PISA พื่อให้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) เผยแพร่ออนไลน์ 24 ก.พ. 2558

การประเมินด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของ PISA 2015

โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) ประเมินสมรรถนะของนักเรียนในการใช้ความรู้และทักษะสามด้านได้แก่ การรู้เรื่องการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ได้มีการประเมินด้านการแก้ปัญหา (Problem Solving) ใน PISA 2003 และ PISA 2012 โดยทั้งสองครั้ง เป็นการประเมินการใช้ทักษะการแก้ปัญหาจากโจทย์ที่เป็นสถานการณ์ในชีวิตจริง และเป็นการทำข้อสอบในเล่มแบทดสอบ แต่ PISA 2015 ได้เปลี่ยนมาเป็นการประเมินด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) และทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์