ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของระบบการศึกษาที่พร้อมปรับตัวจากการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญของผลการประเมิน PISA 2022

PISA 2022 เป็นการประเมินครั้งล่าสุด ซึ่งในช่วงที่เก็บข้อมูลเป็นช่วงที่ทั่วโลกเพิ่งผ่านวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ในภาพรวม PISA 2022 มีผลการประเมินต่ำที่สุดตั้งแต่ที่เริ่มมีการประเมินมา อย่างไรก็ตาม ยังมีระบบการศึกษาที่พร้อมปรับตัวและเอาชนะความท้าทายนี้ได้ ซึ่งแนวปฏิบัติของระบบการศึกษาที่น่าสนใจเหล่านี้นำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับประเทศไทย

ผลการประเมิน PISA 2022 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

PISA 2022 เป็นรอบการประเมินที่เน้นด้านคณิตศาสตร์ และได้มีการปรับกรอบโครงสร้างการประเมินจาก PISA 2012 ที่เน้นด้านคณิตศาสตร์เช่นเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามบริบทหรือสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันที่ดิจิทัลมีบทบาทสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการประเมินของ PISA ที่ทำแบบทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์

การมีกรอบความคิดแบบเติบโตของนักเรียนไทย ผลจากการประเมิน PISA 2018

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลสำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติการสอนที่ดีขึ้นและให้ข้อมูลจากประสบการณ์ของนักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต เพื่อให้ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้สนใจทั่วไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาที่นำไปสู่การยกระดับความสามารถของนักเรียนไทยอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร นักเรียนมีความพร้อมเพียงใดที่จะใช้ชีวิตในโลกที่เชื่อมต่อถึงกัน

บทสรุปสำหรับผู้บริหารฉบับนี้ เป็นการนำเสนอว่านักเรียนได้รับการเตรียมพร้อมให้มีความสามารถเพียงใดที่จะอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมหรือสังคมวัฒนธรรมนานาชาติ โดย PISA ดำเนินการประเมินสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก (Global Competence) ซึ่งเน้นวัดความรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับความสำคัญของประเด็นปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลกรวม ทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังประเมินความรู้ ทักษะ และเจตคติระหว่างวัฒนธรรมของนักเรียนอีกด้วย

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร นโยบายที่มีประสิทธิภาพ – โรงเรียนที่ประสบความสําเร็จ จากการประเมิน PISA 2018

บทสรุปสำหรับผู้บริหารฉบับนี้เป็นการนำเสนอนโยบายและแนวปฏิบัติที่ใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียนของระบบการศึกษาจาก 79 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมการประเมิน PISA 2018 โดยการศึกษาวิจัยนี้เป็นการตรวจสอบว่า นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกและแยกกลุ่มนักเรียน การลงทุนทางทรัพยากรการศึกษา การกำกับดูแลระบบการศึกษา และการวัดและการประเมินผลการศึกษา มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้ ความเท่าเทียมกันของผลการเรียนรู้ และความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนอย่างไร

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการอ่านและแนวทางในการยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทย

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียนไทยจากข้อมูล PISA 2018 ซึ่งผลการวิเคราะห์และข้อค้นพบที่ได้จะนำไปสู่แนวทางในการพัฒนาทักษะและความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทยอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทภายในประเทศ อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาที่นำไปสู่การยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทยอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

การประเมิน PISA 2018 เน้นการอ่านเป็นการประเมินหลักครั้งที่สามถัดจาก PISA 2000 และ PISA 2009 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มของ
การเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้ด้านการอ่านของนักเรียนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ซึ่งรายงานฉบับนี้จะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมิน PISA 2018
ทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาต่อไป

ผลการประเมินสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก (Global Competence)

การประเมินสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลกใน PISA 2018 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่านักเรียนได้รับการเตรียมพร้อมให้มีความสามารถเพียงใดที่จะอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม การประเมินเก็บข้อมูลจากการให้นักเรียนทำแบบสอบถามและแบบทดสอบ โดยมีประเทศ เข้าร่วมเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 66 ประเทศ และมีประเทศ ที่เข้าร่วมเก็บข้อมูลทั้งจากแบบสอบถามและแบบทดสอบ จำนวน 27 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

PISA 2018 เป็นรอบที่การประเมินด้านการอ่านกลับมาเป็นการประเมินหลักอีกครั้ง ซึ่งได้มีการปรับกรอบโครงสร้างการประเมินด้านการอ่านเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามบริบทหรือสถานการณ์ของการอ่านของโลกในปัจจุบันที่เป็นดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการประเมินของ PISA ที่ทำแบบทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนอายุ 15 ปี ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดิจิทัลแต่ก็ยังคงสามารถวัดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนเทียบกับอดีตที่ผ่านมาถึงสองทศวรรษ

1 2 5