ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

PISA 2015 เน้นวิทยาศาสตร์เป็นการประเมินหลักครั้งที่สองถัดจาก PISA 2006 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครู การจัดสรรทรัพยากร

ประเด็นหลักและนัยทางการศึกษาจาก PISA 2015: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

PISA 2015 เก็บข้อมูลด้านต่าง ๆ ของระบบโรงเรียน จากรายงานของนักเรียน ครู และครูใหญ่ เกี่ยวกับระบบโรงเรียน วิธีการหรือแนวปฏิบัติ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทางการเรียน ทำให้สามารถให้ข้อมูลด้านวิธีการปฏิบัติของระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่สำคัญมากในระบบโรงเรียนคือทรัพยากร ทั้งในด้านงบประมาณและการลงทุนทางการศึกษา ซึ่งจะชี้ว่า ระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จนั้นเขาทำกันอย่างไร

สรุปข้อมูลเบื้องต้น PISA 2015

รายงานฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของ PISA 2015 ซึ่งขณะที่ทำรายงานฉบับนี้ยังไม่ทราบผลการวิเคราะห์ร่วมกับนานาชาติ จึงเป็นผลการวิเคราะห์ภายในประเทศเท่านั้น รายงานจะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ผลการประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ การรู้เรื่องการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ

รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โครงการ PISA 2012

รายงานฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของ PISA 2012 เป็นผลการวิเคราะห์ภายในประเทศ โดยรายงานเฉพาะสัดส่วน (%) ของนักเรียนที่ทำข้อสอบถูกหรือได้คะแนนเท่านั้น ซึ่งจะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กล่าวถึงความเป็นมา วิธีการดำเนินการ ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านคณิตศาสตร์ ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการอ่าน และส่วนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์

กรอบโครงสร้างการประเมินผลนักเรียนโครงการ PISA 2015

รายงานเล่มนี้ได้รวบรวมหลักการและแนวคิดที่ประเทศสมาชิก OECD และประเทศที่มิใช่สมาชิกแต่เข้าร่วมโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ PISA ซึ่งได้ตกลงตัดสินว่าเป็นสิ่งจำเป็นของการเตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในโลกปัจจุบันและอนาคต กรอบโครงสร้างในรายงานประกอบด้วย กรอบโครงสร้างการประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ การรู้เรื่องการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ

สรุปผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์

PISA 2015 มีประเทศที่เข้าร่วมโครงการ 72 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ และเป็นครั้งแรกที่จัดให้มีการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based assessment หรือ CBA) เต็มรูปแบบ สำหรับประเทศไทยได้เก็บข้อมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 จากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอายุ 15 ปี จำนวน 8,249 คน ใน 273 โรงเรียนของทุกสังกัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบทดสอบที่ประเมินความสามารถในการใช้ความรู้และทักษะด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามนักเรียนและผู้บริหารโรงเรียน

การศึกษาคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียนไทย : การพัฒนา – ผลกระทบ – ภาวะถดถอยในปัจจุบัน

สสวท. เป็นองค์กรที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น เพื่อรับผิดชอบการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาคณิตศาสตร์ของชาติ แม้ว่าในระยะแรกของการพัฒนา ผลการประเมินจะยืนยันถึงผลกระทบทางบวกที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียน แต่ ณ ปัจจุบันประจักษ์พยานกลับชี้บอกถึงความถดถอยและชี้นัยถึงความจำเป็นที่ต้องฟื้นฟูและยกระดับการศึกษาคณิตศาสตร์ของชาติอีกครั้ง ทั้งนี้ ปัญหาที่เข้ามากระทบมีทั้งแรงกดดันทั่วไปจากภายนอก ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจจากระดับนโยบาย และปัญหาจากภายในคณิตศาสตร์เอง ซึ่งรวมทั้งตัวสาระของวิชาและบุคลากรที่เข้ามามีส่วน เกี่ยวข้องกับการศึกษาคณิตศาสตร์

Mathematics education at school level in Thailand The development – The impact – The dilemmas

IPST has been established to be responsible for the development and promotion of mathematics education of the nation for more than three decades. Although evidences showed positive impact on student learning at the early stage of its implementation, Thailand has seen the decline in student performance. Mathematics education in Thailand has faced dilemmas. Many problems associate with the dilemmas and the way to fix school mathematics are included in the discussion.

การศึกษาวิทยาศาสตร์ไทย : การพัฒนาการและภาวะถดถอย

รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมแนวคิด ปรัญชา เป้าหมายและข้อมูลสำคัญๆ ในการจัดการการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประชาคมโลกและการจัดการการศึกษาวิทยาศาสตร์ของไทยในปัจจุบัน เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ และให้เห็นภาพสะท้อนของสถานการณ์ที่ิเกิดขึ้นขณะนี้ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการพัฒนาการทางสังคมและประชาชาติในทุกๆด้านโดยรวม นอกจากนี้ ผู้จัดทำรายงานยังได้เสนอแนะแนวทางที่จะยกระดับให้การศึกษาวิทยาศาสตร์ของไทยรุดหน้าเทียบทันกับมาตรฐานสากล

1 2 3 5