ประเทศใดได้ชื่อว่ามีระบบโรงเรียนที่ดีที่สุดในโลก

ระบบการศึกษาของฟินแลนด์จะเป็นที่สนใจของหลายฝ่าย แต่การจะนำระบบของฟินแลนด์มาใช้อาจไม่ง่าย เพราะฟินแลนด์กับไทยมีบริบทที่แตกต่างกันมากทั้งทางด้านประชากรและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัฒนธรรมในการให้คุณค่ากับครู แต่ก็มีบางอย่างในระบบของฟินแลนด์ที่อาจเป็นบทเรียนที่มีประโยชน์ เช่น การผลิตครูคุณภาพสูง การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม ความเป็นธรรมทางการเรียนที่ไม่คัดเลือกเฉพาะนักเรียนเก่งเข้าโรงเรียนและปล่อยทิ้งนักเรียนอ่อนให้เป็นพวกเหลือทิ้ง ไม่แบ่งแยกนักเรียนเก่ง-นักเรียนอ่อนออกจากกัน เพราะการแบ่งแยกนักเรียน คือ การแบ่งแยกครูไปด้วยในตัว ถ้าระบบโรงเรียนทำได้ การลงทุนทางการศึกษาอาจคุ้มค่าขึ้นมาบ้างก็ได้

บรรยากาศทางระเบียบวินัย (Disciplinary climate) ส่งผลอย่างไร ต่อการเรียนรู้

การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับหลายตัวแปร หนึ่งในนั้นคือบรรยากาศทางการเรียน ซึ่งครอบคลุมตัวแปรต่าง ๆ ที่ไม่ใช่การเรียนการสอนโดยตรง แต่มีผลเกี่ยวข้องกับการเรียนของนักเรียน เช่น พฤติกรรมของนักเรียนและครูในมุมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียน รวมทั้งบรรยากาศทางระเบียบวินัยของนักเรียน การขาดเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และขวัญกำลังใจของครู

การจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมสำคัญอย่างไร

การมีและการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมเป็นมาตรการหนึ่งของการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ การมีทรัพยากรที่มีคุณภาพสามารถทดแทนความเสียเปรียบทางภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนและของโรงเรียนได้ โรงเรียนที่ด้อยกว่าและมีผลการประเมินต่ำ จึงไม่ใช่โรงเรียนที่ระบบการศึกษาพึงเพิกเฉยต่อไป

ประเทศที่ประสบความสำเร็จเขาดูแลครูอย่างไร

ครูคือตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา โรงเรียนไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสร้างครูคุณภาพสูงและมีการกระจายทรัพยากรครูอย่างเป็นธรรมให้กับโรงเรียนที่ด้อยเปรียบ การกระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรมนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา

การคัดเลือกและแยกกลุ่มนักเรียนสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้อย่างไร

การคัดเลือกและแยกกลุ่มนักเรียน เดิมเคยเป็นแนวปฏิบัติที่ใช้กันในระบบโรงเรียนทั่วไป แต่แนวปฏิบัติดังกล่าวลดลงหลังจากที่มีรายงานของ OECD เรื่องความเป็นเลิศและความเสมอภาคทางการศึกษา (OECD, 2013a) เผยแพร่ออกมา ในรายงานชี้ถึงความไม่เสมอภาคทางการศึกษาในแนวปฏิบัตินั้น

การเรียนซ้ำชั้นทำให้การเรียนรู้ดีขึ้นหรือไม่

การซ้ำชั้นเป็นการแยกกลุ่มนักเรียนตามแนวตั้งรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผลการวิจัยชี้ว่า การคัดแยกกลุ่มนักเรียน มักเป็นอันตรายต่อความเท่าเทียมทางการศึกษา (OECD, 2013b) การซ้ำชั้นเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้เกิดการคัดแยกนักเรียนตามแนวตั้ง

การใช้เวลาเรียนมากขึ้นทำให้การเรียนรู้ดีขึ้นหรือไม่

PISA 2012 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเวลาเรียนกับผลการเรียนรู้ของนักเรียนข้อมูลชี้ว่าในระดับโรงเรียน เวลาเรียนที่กำหนดตามตารางในโรงเรียนมีความเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ แต่การใช้เวลาเรียนนอกเวลาและการเรียนพิเศษนอกเวลาไม่มีความสัมพันธ์ที่ตรงไปตรงมาเหมือนกับการใช้เวลาเรียนในเวลา

การจัดสรรทรัพยากรสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้อย่างไร

การศึกษา PISA ไม่ได้ให้ความสนใจเฉพาะคะแนนหรือเปรียบเทียบผลการประเมินระหว่างประเทศสมาชิก แต่ตั้งใจให้ข้อมลูของตัวแปรทุกตัวเพื่อหาคำอธิบายว่าตัวแปรใดส่งอิทธิพลกระทบต่อคุณภาพการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด ตัวแปรหนึ่งที่พบว่าส่งอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมากคือ ทรัพยากรการเรียน

1 5 6