จากการประเมิน PISA 2022 เตรียมพร้อมก้าวสู่การประเมิน PISA 2025

ประเทศไทยได้ดำเนินการเก็บข้อมูล PISA 2022 เสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 โดยจะเผยแพร่ผลการประเมินด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในเดือนธันวาคม 2566 และเผยแพร่ผลการประเมินด้านความคิดสร้างสรรค์ ในเดือนธันวาคม 2567 ต่อไป สำหรับในรอบการประเมินถัดไป คือ PISA 2025 จะเน้นการประเมินความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก และมีการประเมินเพิ่มเติมด้านการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล (Learning in the Digital World) โดยประเทศไทยจะมีการจัดสอบรอบทดลองใช้เครื่องมือในเดือนสิงหาคม 2567 และจัดสอบรอบการวิจัยหลักในเดือนสิงหาคม 2568

OECD เผยแพร่หนังสือเรื่อง Thinking outside the box: The PISA 2022 Creative Thinking Assessment

ความคิดสร้างสรรค์เป็นสมรรถนะสำคัญที่เยาวชนจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต และหลายปีที่ผ่านมากรอบการศึกษาหรือการจัดอันดับทักษะทางการศึกษาที่มุ่งเน้นสู่อนาคตเกือบทั้งหมดต่างให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ในอันดับต้น ๆ ด้วยเหตุนี้ การประเมิน PISA ที่ดำเนินงานโดย OECD จึงได้ทำการประเมินแบบใหม่ที่ได้รวบรวมการวัดองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์และได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลใน PISA 2022

[INFOGRAPHICS] ตัวอย่างข้อสอบความคิดสร้างสรรค์ PISA 2022

ใน PISA 2022 นอกจากจะประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีการประเมินนวัตกรรมอีกหนึ่งด้าน คือ ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ด้วย โดยตัวอย่างข้อสอบความคิดสร้างสรรค์ต่อไปนี้นำมาจากกรอบการประเมินความคิดสร้างสรรค์ของ PISA 2022 ซึ่งประกอบด้วยข้อสอบการแสดงแนวคิดด้วยการเขียนบรรยาย ข้อสอบการแสดงแนวคิดด้วยภาพ ข้อสอบการแก้ปัญหาด้านสังคม และข้อสอบการแก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์

[INFOGRAPHICS] การประเมินความคิดสร้างสรรค์ใน PISA 2022

PISA เลือกใช้นิยามของความคิดสร้างสรรค์ที่สัมพันธ์กับนักเรียนอายุ 15 ปี ทั่วโลก โดยความคิดสร้างสรรค์ใน PISA 2022 มีนิยามว่า ความสามารถในการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้าง ประเมิน และปรับปรุง แนวคิด ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่และมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาองค์ความรู้ และเป็นการแสดงออกถึงจินตนาการที่เกิดประโยชน์

[INFOGRAPHICS] เตรียมพร้อมการประเมิน PISA 2022

ดาวน์โหลด Infographic แสดงข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการเตรียมพร้อมเข้าร่วม PISA 2022 ของประเทศไทย โดยรอบการประเมินนี้จะมีสัดส่วนข้อสอบที่ใช้ประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ 60% ส่วนความฉลาดรู้ด้านการอ่านและความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ จะมีข้อสอบอย่างละ 20%

การเลื่อนการจัดสอบ PISA 2021 เป็น PISA 2022

จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานสำหรับการประเมิน PISA 2021 เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเครื่องมือและการเก็บข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพทัดเทียมกับรอบการประเมินที่ผ่านมา จะมีการจัดสอบรอบ Field Trial ในปี ค.ศ. 2021 และสอบรอบ Main Survey ในปี ค.ศ. 2022

1 2 3 4