โรงเรียนและนักเรียนมีความพร้อมเพียงใดกับการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์: ข้อค้นพบจาก PISA

จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้โรงเรียนในมากกว่า 190 ประเทศต้องปิดการเรียนการสอนส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียนมากกว่า 1,500 ล้านคนทั่วโลก ดังนั้น การศึกษาผ่านระบบออนไลน์จึงถูกยกระดับจากการเป็นตัวช่วยนอกหลักสูตรมาเป็นวิธีหลักที่จะช่วยให้การเรียนการสอนของระบบการศึกษาทั่วโลกเดินหน้าต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม การมาของวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ได้เผยให้เห็นว่าระบบการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่โลกของการเรียนรู้โดยการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล

นักเรียนที่ด้อยเปรียบกับผลการประเมินที่เหนือความคาดหมาย

การตกอยู่ในสถานะที่ด้อยเปรียบมักถูกทำนายว่าจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำและมีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดี อย่างไรก็ตาม นักเรียนที่ด้อยเปรียบบางส่วนไม่ยอมจำนนต่อโชคชะตา จนสามารถเอาชนะความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญและสามารถประสบความสำเร็จทางการศึกษาได้ ซึ่ง PISA เรียกนักเรียนกลุ่มนี้ว่า นักเรียนที่มีความไม่ย่อท้อทางการศึกษา (Academic Resilient Students) หรือที่ในประเทศไทยนิยมเรียกกันว่า นักเรียนกลุ่มช้างเผือก

ข้อค้นพบจาก PISA 2018 เกี่ยวกับกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset)

กรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) คือ ความเชื่อว่า ความสามารถหรือสติปัญญาของบุคคลสามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา กรอบความคิดแบบเติบโตจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ การไม่หลีกเลี่ยงความท้าทาย การไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลว การเห็นคุณค่าของความพยายาม การเรียนรู้จากคำวิจารณ์ และการมองหาบทเรียนและแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น ซึ่งล้วนเป็นหนทางสู่การประสบความสำเร็จทั้งในด้านการศึกษาและด้านอื่น ๆ ในชีวิต

ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง

นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศสมาชิก OECD และเมื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน PISA 2015 กับ PISA 2018 พบว่า ด้านการอ่านมีคะแนนลดลงประมาณ 16 คะแนน ส่วนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีคะแนนเพิ่มขึ้นประมาณ 3 คะแนน และ 4 คะแนน ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนตั้งแต่การประเมินรอบแรกจนถึงปัจจุบัน พบว่า ผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของไทยไม่เปลี่ยนแปลง แต่ผลการประเมินด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

[INFOGRAPHICS] ผลการประเมิน PISA 2018

Infographic สรุปผลการประเมิน PISA 2018 ผลการประเมินด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของไทยมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง แต่ผลการประเมินด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่แนวโน้มที่ดีก็มี ได้แก่ การเพิ่มจำนวนขึ้นของนักเรียนไทยที่มีความสามารถระดับสูงในด้านด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กลุ่มที่มีความสามารถต่ำกว่าระดับพื้นฐานมีจำนวนน้อยลง และนักเรียนที่ด้อยโอกาส สามารถทำคะแนนการอ่านอยู่ในกลุ่มเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไป มีจำนวนถึง 13% มากกว่าค่าเฉลี่ย OECD (11%)

ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

PISA 2018 เป็นรอบที่การประเมินด้านการอ่านกลับมาเป็นการประเมินหลักอีกครั้ง ซึ่งได้มีการปรับกรอบโครงสร้างการประเมินด้านการอ่านเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามบริบทหรือสถานการณ์ของการอ่านของโลกในปัจจุบันที่เป็นดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการประเมินของ PISA ที่ทำแบบทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนอายุ 15 ปี ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดิจิทัลแต่ก็ยังคงสามารถวัดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนเทียบกับอดีตที่ผ่านมาถึงสองทศวรรษ

ผลการประเมิน PISA 2018

ผลการประเมิน PISA 2018 ในระดับนานาชาติ พบว่า นักเรียนจากจีนสี่มณฑล (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เจียงซู และเจ้อเจียง) และสิงคโปร์ มีคะแนนทั้งสามด้าน
สูงกว่าทุกประเทศ/เขตเศรษฐกิจ สำหรับประเทศที่มีคะแนนสูงสุดห้าอันดับแรกในด้านการอ่านซึ่งเป็นด้านที่เน้นในรอบการประเมินนี้ ได้แก่ จีนสี่มณฑล สิงคโปร์ มาเก๊า ฮ่องกง และเอสโตเนีย สำหรับผลการประเมินของประเทศไทย นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยในด้านการอ่าน 393 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 487 คะแนน) คณิตศาสตร์ 419 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 489 คะแนน) และวิทยาศาสตร์ 426 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 489 คะแนน)

การประเมินด้านการอ่านของ PISA 2018 เป็นอย่างไร

ปัจจุบันมีการแพร่หลายของสื่อดิจิทัลและอุปกรณ์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นทำให้สิ่งที่ผู้คนต้องอ่านมีปริมาณและความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นด้วย การพัฒนาปรับปรุงกรอบโครงสร้างด้านการอ่านใน PISA 2018 จึงเน้นที่การอ่านเนื้อเรื่องจากหลายแหล่งข้อมูล โดยแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบสื่อดิจิทัลเพื่อสะท้อนให้ถึงธรรมชาติของการอ่านที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของโลกและสอดคล้องกับการใช้ข้อมูลในชีวิตจริงของผู้คนทั่วโลก โดยผลการประเมิน PISA 2018 จะประกาศในวันที่ 3 ธันวาคม 2562 นี้

เมื่อการอ่านกลับมาเป็นการประเมินหลักใน PISA 2018

กรอบโครงสร้างการรู้เรื่องการอ่านของ PISA สำหรับนักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับมุ่งเน้นไปที่ทักษะการอ่าน ซึ่งรวมถึงการค้นหา การเลือก การตีความ การรวบรวมและประเมินสาระข้อมูลจากเนื้อเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ของโลกนอกเหนือจากที่เรียนในชั้นเรียน

PISA มองตะวันออก

เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ได้เห็นตัวอย่างจากระบบการศึกษาที่มีความคล้ายคลึงกับไทยในแง่ของประชากร และจำนวนนักเรียนและโรงเรียน เช่น เกาหลี และเวียดนาม ว่าประเทศเหล่านั้นมีปัจจัยใดนำไปสู่ความสำเร็จ แต่ในประเด็นเรื่องครู Andreas Schleicher แห่ง OECD ได้ให้ข้อสังเกตในประเด็นเกี่ยวกับครูว่า สิงคโปร์ได้สร้างแนวทางไว้ดีที่มีการเน้นเรื่องของแรงจูงใจให้ครูสร้างผลงานระดับคุณภาพสูงมากกว่าจะหยิบยกเรื่องคุณภาพต่ำมาเป็นประเด็น และระบบการประเมินครูนั้นเห็นว่า เป็นการส่งเสริมให้ครูพัฒนาวิชาชีพของตนอย่างแท้จริงทั้งระบบของสิงคโปร์และเซี่ยงไฮ้เหมาะที่จะเป็นสิ่งท้าทายสำหรับการพัฒนาของระบบอื่นในอนาคต

1 4 5 6