การจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมสำคัญอย่างไร

การมีและการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมเป็นมาตรการหนึ่งของการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ การมีทรัพยากรที่มีคุณภาพสามารถทดแทนความเสียเปรียบทางภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนและของโรงเรียนได้ โรงเรียนที่ด้อยกว่าและมีผลการประเมินต่ำ จึงไม่ใช่โรงเรียนที่ระบบการศึกษาพึงเพิกเฉยต่อไป

ประเทศที่ประสบความสำเร็จเขาดูแลครูอย่างไร

ครูคือตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา โรงเรียนไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสร้างครูคุณภาพสูงและมีการกระจายทรัพยากรครูอย่างเป็นธรรมให้กับโรงเรียนที่ด้อยเปรียบ การกระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรมนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา

การคัดเลือกและแยกกลุ่มนักเรียนสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้อย่างไร

การคัดเลือกและแยกกลุ่มนักเรียน เดิมเคยเป็นแนวปฏิบัติที่ใช้กันในระบบโรงเรียนทั่วไป แต่แนวปฏิบัติดังกล่าวลดลงหลังจากที่มีรายงานของ OECD เรื่องความเป็นเลิศและความเสมอภาคทางการศึกษา (OECD, 2013a) เผยแพร่ออกมา ในรายงานชี้ถึงความไม่เสมอภาคทางการศึกษาในแนวปฏิบัตินั้น

การเรียนซ้ำชั้นทำให้การเรียนรู้ดีขึ้นหรือไม่

การซ้ำชั้นเป็นการแยกกลุ่มนักเรียนตามแนวตั้งรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผลการวิจัยชี้ว่า การคัดแยกกลุ่มนักเรียน มักเป็นอันตรายต่อความเท่าเทียมทางการศึกษา (OECD, 2013b) การซ้ำชั้นเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้เกิดการคัดแยกนักเรียนตามแนวตั้ง

การใช้เวลาเรียนมากขึ้นทำให้การเรียนรู้ดีขึ้นหรือไม่

PISA 2012 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเวลาเรียนกับผลการเรียนรู้ของนักเรียนข้อมูลชี้ว่าในระดับโรงเรียน เวลาเรียนที่กำหนดตามตารางในโรงเรียนมีความเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ แต่การใช้เวลาเรียนนอกเวลาและการเรียนพิเศษนอกเวลาไม่มีความสัมพันธ์ที่ตรงไปตรงมาเหมือนกับการใช้เวลาเรียนในเวลา

การจัดสรรทรัพยากรสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้อย่างไร

การศึกษา PISA ไม่ได้ให้ความสนใจเฉพาะคะแนนหรือเปรียบเทียบผลการประเมินระหว่างประเทศสมาชิก แต่ตั้งใจให้ข้อมลูของตัวแปรทุกตัวเพื่อหาคำอธิบายว่าตัวแปรใดส่งอิทธิพลกระทบต่อคุณภาพการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด ตัวแปรหนึ่งที่พบว่าส่งอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมากคือ ทรัพยากรการเรียน

ปัจจัยที่ทําให้ระบบโรงเรียนประสบความสําเร็จ ข้อมูลพื้นฐานจาก PISA 2012

ผลการประเมิน PISA 2012 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่หลายๆ ประเทศในโครงการกำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ ผลการประเมินได้เปิดเผยว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวในระบบการศึกษาไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของหลักสูตร ครู และนักเรียนตามที่มักเป็นที่เข้าใจกัน แต่มาจากความแตกต่างกันในนโยบายและการจัดการระบบการศึกษา ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

PISA in FOCUS: คณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนเกิดความวิตกกังวลหรือไม่?

นักการศึกษาควรตระหนักถึงความสำคัญของความรู้สึกวิตกกังวลต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียน เนื่องจากความวิตกกังวลมีความเกี่ยวข้องกับคะแนนคณิตศาสตร์ ยิ่งมีความวิตกกังวลมากขึ้น คะแนนคณิตศาสตร์จะต่ำลง นอกจากนี้การปฏิบัติของครูต่อนักเรียนในระหว่างเรียนก็มีส่วนสำคัญ เช่น การบอกนักเรียนว่า นักเรียนจะทำคะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนได้ดีอย่างไร การให้ข้อมูลป้อนกลับถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ และการบอกนักเรียนว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้คะแนนคณิตศาสตร์ดีขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความความวิตกกังวลของนักเรียนให้น้อยลงได้

PISA in FOCUS: การจัดสรรทรัพยากรการเรียนอย่างเท่าเทียม สัมพันธ์กับผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร

ระบบโรงเรียนในประเทศที่มีคะแนน PISA สูง จะสามารถจัดสรรทรัพยากรการเรียนได้อย่างเท่าเทียมกันไม่ว่า โรงเรียนจะมีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงหรือต่ำก็ตาม และการสนับสนุนโรงเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและ สังคมต่ำไม่จำเป็นต้องจัดหาทรัพยากรการเรียนให้โรงเรียนเหล่านั้นมากขึ้น แต่ควรจัดหาทรัพยากรการเรียนและทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูงต่างหาก

PISA in FOCUS: ผลการประเมิน PISA ระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย

ความแตกต่างในความสามารถทางวิชาการระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ไม่ได้เป็นเพราะความแตกต่างของความสามารถที่มีมาตั้งแต่กำเนิด พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้นำและผู้วางนโยบายทางการศึกษา จึงควรร่วมกันหาแนวทางที่จะช่วยลดช่องว่างของความแตกต่างระหว่างเพศในการศึกษา เพื่อให้ทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายรู้ถึงศักยภาพแท้จริงที่ตนเองมี อันจะนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่นักเรียนอยู่ให้ดีขึ้นต่อไป

1 2 3