สร้างการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ความท้าทายที่ต้องดำเนินการ

ระบบการศึกษาที่ประสบความสำเร็จอาจไม่ใช่ระบบการศึกษาของประเทศที่มีรายได้สูงเท่านั้น แต่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางหรือรายได้ต่ำก็สามารถมีระบบการศึกษาที่ประสบความสำเร็จได้หากมีพลังของความตั้งใจจริง มีระดับนโยบายที่มีเป้าหมายชัดเจนไม่เปลี่ยนทิศทางตามความพอใจ มีกองทัพครูที่มีคุณภาพและเป็นมืออาชีพ ข้อสำคัญที่สุด คือ การทุ่มเทการสอนในห้องเรียนของครู

เทคโนโลยีอาจมีผลเสียต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

ผลจากการศึกษาวิจัย พบว่า ไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างผลการเรียนรู้กับการให้นักเรียนใช้แทบเล็ต โน้ตบุ๊ค หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แต่การให้ครูใช้สิ่งเหล่านี้จะเกิดประโยชน์มากกว่า การใช้เทคโนโลยีจะให้ผลดีต่อเมื่อใช้ไม่มากเกินไปและใช้อย่างมีจุดประสงค์ และผสมผสานสอดคล้องกับหลักสูตร
คอมพิวเตอร์ไม่อาจใช้แทนครูได้ เพราะครูคือผู้สอนที่แท้จริง

การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์

นักเรียนทั่วโลกต่างสนใจและใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากขึ้นทุกทีทั้งในและนอกโรงเรียน และนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมด้อยเปรียบใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นเป็นอัตราแบบยกกำลัง ซึ่งเรื่องนี้แม้ในทศวรรษที่แล้วคิดกันในเชิงบวก แต่ ณ เวลานี้เริ่มสับสนเพราะข้อมูลชี้ว่า ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนต่ำลงโดยเฉพาะเมื่อใช้ในวันที่มีเรียน

รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โครงการ PISA 2012

รายงานฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของ PISA 2012 เป็นผลการวิเคราะห์ภายในประเทศ โดยรายงานเฉพาะสัดส่วน (%) ของนักเรียนที่ทำข้อสอบถูกหรือได้คะแนนเท่านั้น ซึ่งจะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กล่าวถึงความเป็นมา วิธีการดำเนินการ ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านคณิตศาสตร์ ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการอ่าน และส่วนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์

PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง

การศึกษาของไทยถือว่ามีคุณภาพระดับเทียบเคียงนานาชาติได้ระดับหนึ่ง แต่การศึกษาที่มีคุณภาพนั้นอยู่เพียงใน กทม. เท่านั้น หากสามารถขยายตัวแบบการศึกษาใน กทม. ออกไปใช้ทั่วประเทศอาจทำให้ผลการประเมินสูงขึ้นได้ อนึ่ง PISA ได้ชี้ถึงจุดอ่อนที่ระบบฯ สามารถนำมาพิจารณาเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ทั้งในด้านครู ทรัพยากรการศึกษา ความเท่าเทียมหรือความเป็นธรรมทางการศึกษา การเปลี่ยนหลักสูตรอย่างเดียวจึงไม่ใช่คำตอบ แต่การศึกษาต้องปรับทุกประเด็นแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่เห็นคุณค่าอย่างสูงของการศึกษา การเคารพครู ความขยันและการทำงานหนักก็เป็นองค์ประกอบของการยกระดับคุณภาพการศึกษา

การศึกษาเวียดนาม: ทำไมนักเรียนจึงมีผลการประเมินสูง

ระบบโรงเรียนไทยไม่สามารถแข่งขันกับหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียและอาเซียน ประเทศที่เคยล้าหลังไทยก็กลับแซงไปข้างหน้า แล้วประเทศไทยจะแข่งขันได้อย่างไร แม้ในอาเซียนด้วยกัน ถ้าไทยยังไม่รีบยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน ซึ่งการยกระดับนั้นมีข้อมูลที่ชี้บอกถึงจุดอ่อนของระบบของชาติ และจุดแข็งของระบบอื่น ๆ ที่พอจะใช้ประโยชน์ได้ แต่น่าเสียดายอย่างหนึ่งที่ข้อมูลและสาระดี ๆ เหล่านั้นไม่เคยถูกใช้ เพราะระบบไทยมักตัดสินอยู่บนฐานความคิดเห็นและความพอใจมากกว่าบนฐานของข้อมูล

ความเป็นธรรมทางการศึกษาเป็นอย่างไร

ข้อมูลจากการวิจัยนานาชาติชี้ว่า ทรัพยากรการเรียนเป็นตัวแปรที่อิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม สามารถลดอิทธิพลของตัวแปรนี้ลงได้ ความเป็นธรรมทางการศึกษา มิได้มีความหมายถึงการให้ทรัพยากรที่เท่ากันหมด เพราะว่าการให้ที่เท่ากันไม่ได้ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม เพราะคนที่มีต้นทุนเดิมมากยังคงมีมากเหนือคนอื่นอยู่ดี และคนที่มีต้นทุนเดิมน้อยก็ยังมีน้อยเหมือนเดิม ระบบที่ประสบความสำเร็จไม่ได้ทอดทิ้งนักเรียนกลุ่มด้อยเปรียบ แต่ให้การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม

นักเรียนเกาหลีใต้เขาเรียนหนังสือกันอย่างไร

ระบบของฟินแลนด์กับของเกาหลีใต้ที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดในโลก แต่วิธีการที่จะเดินทางไปสู่เป้าหมายของสองระบบนี้แตกต่างกัน จะมีสิ่งที่ร่วมกันอยู่ก็เพียงการให้ความสำคัญและให้คุณค่าแก่ครู เลือกคนที่ดีที่สุดมาเป็นครู และเก็บครูเก่งไว้ในระบบ ที่สำคัญอีกอย่างก็คือนักเรียนและความทุ่มเทของผู้ปกครองโดยเฉพาะในเกาหลีใต้ นักเรียนเกาหลีใต้มีการเรียนที่สุดโหดและทรหดอดทน ไทยที่มีบริบทที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง จึงต้องดูปัญหาของตนเองให้ถูกจุด และค่อย ๆ ปรับเท่าที่ทำได้ บทเรียนจากสองประเทศชี้นัยว่า สิ่งที่ต้องทำ คือ ให้พ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมกับการศึกษาของลูกให้มากที่สุด กระตุ้นครูให้ทำงานหนักและทำดีที่สุดในแต่ละวัน ให้นักเรียนกระหายที่จะเรียน และให้เรียนให้ดีที่สุดทุก ๆ วัน ระบบการศึกษาไม่ควรมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนหลักสูตรและคิดว่าการเปลี่ยนหลักสูตร คือ คำตอบ

ประเทศใดได้ชื่อว่ามีระบบโรงเรียนที่ดีที่สุดในโลก

ระบบการศึกษาของฟินแลนด์จะเป็นที่สนใจของหลายฝ่าย แต่การจะนำระบบของฟินแลนด์มาใช้อาจไม่ง่าย เพราะฟินแลนด์กับไทยมีบริบทที่แตกต่างกันมากทั้งทางด้านประชากรและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัฒนธรรมในการให้คุณค่ากับครู แต่ก็มีบางอย่างในระบบของฟินแลนด์ที่อาจเป็นบทเรียนที่มีประโยชน์ เช่น การผลิตครูคุณภาพสูง การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม ความเป็นธรรมทางการเรียนที่ไม่คัดเลือกเฉพาะนักเรียนเก่งเข้าโรงเรียนและปล่อยทิ้งนักเรียนอ่อนให้เป็นพวกเหลือทิ้ง ไม่แบ่งแยกนักเรียนเก่ง-นักเรียนอ่อนออกจากกัน เพราะการแบ่งแยกนักเรียน คือ การแบ่งแยกครูไปด้วยในตัว ถ้าระบบโรงเรียนทำได้ การลงทุนทางการศึกษาอาจคุ้มค่าขึ้นมาบ้างก็ได้

บรรยากาศทางระเบียบวินัย (Disciplinary climate) ส่งผลอย่างไร ต่อการเรียนรู้

การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับหลายตัวแปร หนึ่งในนั้นคือบรรยากาศทางการเรียน ซึ่งครอบคลุมตัวแปรต่าง ๆ ที่ไม่ใช่การเรียนการสอนโดยตรง แต่มีผลเกี่ยวข้องกับการเรียนของนักเรียน เช่น พฤติกรรมของนักเรียนและครูในมุมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียน รวมทั้งบรรยากาศทางระเบียบวินัยของนักเรียน การขาดเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และขวัญกำลังใจของครู

1 2 3