[INFOGRAPHICS] PISA 2022 กับการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์
อินโฟกราฟิกนี้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของ PISA 2022
อินโฟกราฟิกนี้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของ PISA 2022
ดาวน์โหลด Infographic แสดงข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการเตรียมพร้อมเข้าร่วม PISA 2022 ของประเทศไทย โดยรอบการประเมินนี้จะมีสัดส่วนข้อสอบที่ใช้ประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ 60% ส่วนความฉลาดรู้ด้านการอ่านและความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ จะมีข้อสอบอย่างละ 20%
ทุกคนรู้หรือไม่!! การประเมิน PISA 2021 ที่กำลังจะมาถึงนี้ เน้นการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) เป็นหลักเช่นเดียวกับ PISA 2003 และ PISA 2012 ว่าแต่.. ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ในความหมายของ PISA เป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถพัฒนาทักษะนี้ได้หรือไม่
การประเมิน PISA 2021 ที่กำลังจะมาถึงนี้เป็นการประเมินที่เน้นความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) เป็นหลักเช่นเดียวกับ PISA 2003 และ PISA 2012 กรอบการประเมินของ PISA ถูกออกแบบมาเพื่อให้นักเรียนอายุ 15 ปี ได้เห็นความสำคัญของคณิตศาสตร์และเป็นการสร้างประสบการณ์ให้นักเรียนได้พบเจอสถานการณ์และบริบทที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง โดยวัดกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนผ่านสถานการณ์และบริบทในชีวิตจริง ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังเป็นแกนหลักในการวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ในแต่ละรอบการประเมิน
การรู้เรื่องการอ่าน หรือ Reading Literacy ไม่ใช่เพียงแค่การอ่านออก เขียนได้เท่านั้น แต่ต้อง เข้าใจเนื้อเรื่อง อินไปกับเรื่องที่อ่าน นำเนื้อหาที่อ่านเข้าใจได้ไปใช้ ประเมินเรื่องที่อ่านได้ และคิดเห็นอย่างไรต้องสะท้อนความคิดออกมาได้ด้วย เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย พัฒนาความรู้และศักยภาพตนเอง และมีส่วนร่วมในสังคม
ปัจจุบันมีการแพร่หลายของสื่อดิจิทัลและอุปกรณ์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นทำให้สิ่งที่ผู้คนต้องอ่านมีปริมาณและความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นด้วย การพัฒนาปรับปรุงกรอบโครงสร้างด้านการอ่านใน PISA 2018 จึงเน้นที่การอ่านเนื้อเรื่องจากหลายแหล่งข้อมูล โดยแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบสื่อดิจิทัลเพื่อสะท้อนให้ถึงธรรมชาติของการอ่านที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของโลกและสอดคล้องกับการใช้ข้อมูลในชีวิตจริงของผู้คนทั่วโลก โดยผลการประเมิน PISA 2018 จะประกาศในวันที่ 3 ธันวาคม 2562 นี้
กรอบโครงสร้างการรู้เรื่องการอ่านของ PISA สำหรับนักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับมุ่งเน้นไปที่ทักษะการอ่าน ซึ่งรวมถึงการค้นหา การเลือก การตีความ การรวบรวมและประเมินสาระข้อมูลจากเนื้อเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ของโลกนอกเหนือจากที่เรียนในชั้นเรียน
รายงานเล่มนี้ได้รวบรวมหลักการและแนวคิดที่ประเทศสมาชิก OECD และประเทศที่มิใช่สมาชิกแต่เข้าร่วมโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ PISA ซึ่งได้ตกลงตัดสินว่าเป็นสิ่งจำเป็นของการเตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในโลกปัจจุบันและอนาคต กรอบโครงสร้างในรายงานประกอบด้วย กรอบโครงสร้างการประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ การรู้เรื่องการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ
PISA เป็นโครงการวิจัยด้านการศึกษาที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ แต่ก็ยังมีลักษณะเช่นเดียวกับงานวิจัยอื่น ๆ นั่นคือ ต้องมีการตั้งสมมติฐานและมีข้อจำกัด ทั้งในการดำเนินงานและการตีความผลการวิจัย การนำผลการประเมิน PISA ไปใช้ในระดับนโยบายจึงควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และคำนึงถึงข้อจำกัดที่มีด้วย
เมื่อโลกเดินทางมาถึงยุคดิจิทัล นักเรียนควรได้รับการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือได้และดำเนินชีวิตอย่างปกติในโลกยุคใหม่ PISA 2018 ต้องการหาตัวชี้วัดว่านักเรียนในแต่ละระบบการศึกษามีความพร้อมเพียงใดในการรู้เรื่องการอ่านดิจิทัล (Digital reading literacy) โดยทั่วไปพบว่า นักเรียนสนใจและมีความสามารถการอ่านดิจิทัลสูงกว่าการอ่านสิ่งพิมพ์