การศึกษาวิทยาศาสตร์ไทย : การพัฒนาการและภาวะถดถอย

รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมแนวคิด ปรัญชา เป้าหมายและข้อมูลสำคัญๆ ในการจัดการการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประชาคมโลกและการจัดการการศึกษาวิทยาศาสตร์ของไทยในปัจจุบัน เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ และให้เห็นภาพสะท้อนของสถานการณ์ที่ิเกิดขึ้นขณะนี้ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการพัฒนาการทางสังคมและประชาชาติในทุกๆด้านโดยรวม นอกจากนี้ ผู้จัดทำรายงานยังได้เสนอแนะแนวทางที่จะยกระดับให้การศึกษาวิทยาศาสตร์ของไทยรุดหน้าเทียบทันกับมาตรฐานสากล

ปัจจัยที่ทําให้ระบบโรงเรียนประสบความสําเร็จ ข้อมูลพื้นฐานจาก PISA 2012

ผลการประเมิน PISA 2012 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่หลายๆ ประเทศในโครงการกำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ ผลการประเมินได้เปิดเผยว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวในระบบการศึกษาไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของหลักสูตร ครู และนักเรียนตามที่มักเป็นที่เข้าใจกัน แต่มาจากความแตกต่างกันในนโยบายและการจัดการระบบการศึกษา ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

สาหรับ PISA 2012 เน้นคณิตศาสตร์เป็นการประเมินหลัก และนับเป็นครั้งที่สองจาก PISA 2003 ที่คณิตศาสตร์เป็นการประเมินหลัก การประเมินผลดังกล่าวทำให้สามารถติดตามแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป และให้ข้อมูลว่าระบบการศึกษาของประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมสาหรับนักเรียนได้มากน้อยเพียงใด

ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่ครั้งแรก (PISA 2000) ข้อมูลชี้ว่าหลังการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2542 ประเทศไทยมีผลการประเมินที่ต่ำลงอย่างต่อเนื่องใน PISA 2003 และ PISA 2006 แต่ความตกต่ำได้หยุดลงใน PISA 2009 และประเทศไทยได้เห็นแนวโน้มผลการประเมินที่สูงขึ้นอย่างชัดเจนใน PISA 2012

ปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียนประสบความสำเร็จ

นอกจาก PISA ประเมินผลครอบคลุมความรู้และทักษะในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีการสำรวจตัวแปรต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลการเรียนรู้ของนักเรียน ทั้งในตัวแปรทางโรงเรียน ตัวแปรภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวและของโรงเรียน และด้านพ่อแม่ผู้ปกครอง สำหรับรายงานฉบับนี้เป็นผลการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากตัวแปรด้านโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของนักเรียน ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ

ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

การวิจัย PISA 2009 ครั้งนี้ เป็นการเริ่มต้นของรอบสอง และให้น้ำหนักแก่การประเมินการอ่านเป็นสำคัญ หรือเรียกได้ว่าเป็นการประเมินการอ่านซ้ำเป็นรอบที่สองเพื่อติดตามดูว่าในเวลาที่เปลี่ยนไป นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด

ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์: บทสรุปเพื่อการบริหาร

การประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ PISA 2009 ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของรอบสอง และให้น้ำหนักแก่การประเมินการอ่านเป็นสำคัญ หรือเรียกได้ว่าเป็นการประเมินการอ่านซ้ำเป็นรอบที่สองเพื่อติดตามดูว่าในเวลาที่เปลี่ยนไป นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด

กรอบโครงสร้างการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2009

รายงานเล่มนี้ได้รวบรวมหลักการและแนวคิดที่ประเทศสมาชิก OECD และประเทศที่มิใช่สมาชิกแต่เข้าร่วมโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ PISA ซึ่งได้ตกลงตัดสินวาสเป็นสิ่งจำเป็นของการเตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในโลกปัจจุบันและอนาคต กรอบโครงสร้างในรายงานประกอบด้วย กรอบโครงสร้างการประเมินการรู้เรื่องการอ่าน กรอบโครงสร้างการประเมินการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และกรอบโครงสร้างการประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์

รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โครงการ PISA 2009

รายงานฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของ PISA 2009 ซึ่งขณะที่ทำรายงานฉบับนี้ยังไม่ทราบผลการวิเคราะห์ร่วมกับนานาชาติ จึงเป็นผลการวิเคราะห์ภายในประเทศ โดยรายงานเฉพาะสัดส่วน (%) ของนักเรียนที่ทำข้อสอบถูกหรือได้คะแนนเท่านั้น ซึ่งจะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กล่าวถึงความเป็นมา วิธีการดำเนินการ ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการอ่าน ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านคณิตศาสตร์ และส่วนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์

คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนไทย สังเคราะห์การประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2006 และ TIMSS 2007

รายงานนี้ประกอบด้วยผลการประเมินความรู้และทักษะวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการประเมินผลนานาชาติ TIMSS 2007 ซึ่งดำเนินการโดย IEA และผลจากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA ซึ่งดำเนินการโดย OECD และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ประเมินตามเป้าหมายที่ต่างกันและจุดเน้นของการประเมินต่างกัน ตามที่ข้อมูลหรือบริบททำให้เปรียบเทียบได้

1 2 3 4 5