Facebook: IPST Thailand ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA
ในโลกยุคปัจจุบัน การอ่านไม่ได้มีเฉพาะในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ยังมีการอ่านในรูปแบบของสื่อดิจิทัล ทำให้ในแต่ละวันมีข้อความสื่อสารปริมาณมากมายหลายรูปแบบ ดังนั้น การแยกแยะว่าข้อมูลใดเป็นข้อเท็จจริงหรือสิ่งใดเป็นความคิดเห็นจึงเป็นทักษะที่มีความจำเป็น มากไปกว่านั้น การอ่านที่ดีควรมาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาอย่างถูกต้องและครบถ้วน
PISA 2018 จึงได้พัฒนาข้อสอบเพื่อประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านซึ่งจัดสอบด้วยด้วยคอมพิวเตอร์ ในสถานการณ์ของข้อสอบมีทั้งการใช้แหล่งข้อมูลเดียวและหลายแหล่งข้อมูลในการตอบคำถาม ซึ่งการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถใช้สื่อดิจิทัลได้หลายแบบ สามารถกดลิงก์ กดแท็บ หรือเมนูต่าง ๆ เพื่อเข้าดูข้อมูลบนเว็บไซต์ที่ข้อสอบได้จำลองสถานการณ์ขึ้น
#ข่าวดี ขณะนี้ทาง OECD ได้อนุญาตให้เผยแพร่ข้อสอบประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านของ PISA 2018 จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ (1) กระดานสนทนาเรื่องไก่ (2) ราปานุย และ (3) นมวัว ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปฝึกทำข้อสอบลักษณะดังกล่าวได้ที่ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA ⮕ https://pisaitems.ipst.ac.th
แค่อ่านออกไม่เรียกว่ามี >>> ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน
ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading literacy) หมายถึง ความสามารถที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งที่ได้อ่าน สามารถนำไปใช้ ประเมิน สะท้อนออกมาเป็นความคิดเห็นของตนเอง และมีความรักและผูกพันกับการอ่าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย พัฒนาความรู้และศักยภาพ และการมีส่วนร่วมในสังคม
อ่านอย่างไรถึงเรียกว่ามี >>> ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน
ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading literacy) ถือเป็นหัวข้อสำคัญที่ได้มีการวัดผลประเมินผลโดย PISA ซึ่งเน้น “การอ่านเพื่อการเรียนรู้” มากกว่าทักษะเกิดจาก “การเรียนรู้เพื่อการอ่าน”
ดังนั้น นักเรียนจึงไม่ถูกประเมินจากการอ่านแบบธรรมดา เช่น อ่านออก อ่านได้คล่อง แบ่งวรรคตอนถูก ฯลฯ แต่ PISA จะประเมินสมรรถนะของนักเรียนในแง่มุมต่อไปนี้
1) รู้ตำแหน่งข้อสนเทศในเนื้อเรื่อง (Locate information) คือ ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อเรื่องเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงใจความสำคัญของเรื่องได้อย่างครบถ้วนและละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงการระบุตำแหน่งข้อสนเทศทางดิจิทัลที่ซับซ้อน เช่น การใช้โปรแกรมค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การเข้าเว็บไซต์
2) มีความเข้าใจในเนื้อเรื่อง (Understand) เป็นการตีความของผู้อ่านว่าเนื้อเรื่องนั้นมีความหมายว่าอย่างไร และบูรณาการเนื้อหาของเรื่องที่ได้อ่านกับความรู้ที่ผ่านมาด้วยการร่างแผนผังและกระบวนการสร้างข้อสรุป ส่วนการอ่านเนื้อเรื่องที่มีมากกว่าหนึ่งเรื่อง ผู้อ่านต้องใช้การบูรณาการและการลงข้อสรุปจากข้อสนเทศหลาย ๆ ส่วนที่อยู่ในเนื้อเรื่องต่าง
3) ประเมินและสะท้อนความคิดเห็นต่อเนื้อเรื่อง (Evaluate and Reflect) ผู้อ่านสามารถประเมินคุณภาพและความน่าเชื่อถือของเนื้อเรื่องได้ สามารถสะท้อนอย่างมีวิจารณาญาณถึงเนื้อหาและรูปแบบของเรื่องที่ได้อ่าน เมื่อผู้อ่านต้องอ่านเนื้อเรื่องหลากหลายเรื่องที่ขัดแย้งกัน ผู้อ่านจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อข้ดแย้งและหาวิธีจัดการกับข้อข้ดแย้งนั้น
มาลองทดสอบเพื่อวัด >>> ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน
ในสังคมทุกวันนี้ การรับข่าวสารข้อมูลของคนส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารจากสื่อดิจิทัลที่หลากหลายและอัพเดตอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น PISA 2018 จึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading literacy) ให้เข้ากับยุคสมัย คือมีข้อสอบที่อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิทัลด้วย เช่น อีเมล กระดานสนทนา การ chat และ social network
#Upadte ขณะนี้ทาง OECD ได้อนุญาตให้เผยแพร่ข้อสอบประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านของ PISA 2018 จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ (1) กระดานสนทนาเรื่องไก่ (2) ราปานุย และ (3) นมวัว ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปฝึกทำข้อสอบลักษณะดังกล่าวได้ที่ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA ⮕ https://pisaitems.ipst.ac.th
ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน >>> คือกุญแจสู่ความสำเร็จ
การอ่านนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของทุกคน ทำให้เกิดการพัฒนาตนเองทั้งในด้านการศึกษา การงานอาชีพ การดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ และช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ทุกคน
ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading literacy) มีความสัมพันธ์กับความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่ผลการประเมิน PISA 2018 ที่ผ่านมาพบว่า ด้านการอ่านของเด็กไทยมีแนวโน้มของคะแนนลดลงอย่างต่อเนื่อง
ถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด้วนของระบบการศึกษาไทยที่จะต้องยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนในทุกช่วงชั้นอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างเด็กไทยให้มีคุณภาพและเป็นอนาคตของชาติต่อไป
ติดตามก่อนใคร กด Like กด Share และร่วมแสดงความคิดเห็นได้ทาง https://www.facebook.com/145276782175385/posts/2977221915647510