การเรียนซ้ำชั้นทำให้การเรียนรู้ดีขึ้นหรือไม่

การซ้ำชั้นเป็นการแยกกลุ่มนักเรียนตามแนวตั้งรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผลการวิจัยชี้ว่า การคัดแยกกลุ่มนักเรียน มักเป็นอันตรายต่อความเท่าเทียมทางการศึกษา (OECD, 2013b) การซ้ำชั้นเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้เกิดการคัดแยกนักเรียนตามแนวตั้ง

การใช้เวลาเรียนมากขึ้นทำให้การเรียนรู้ดีขึ้นหรือไม่

PISA 2012 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเวลาเรียนกับผลการเรียนรู้ของนักเรียนข้อมูลชี้ว่าในระดับโรงเรียน เวลาเรียนที่กำหนดตามตารางในโรงเรียนมีความเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ แต่การใช้เวลาเรียนนอกเวลาและการเรียนพิเศษนอกเวลาไม่มีความสัมพันธ์ที่ตรงไปตรงมาเหมือนกับการใช้เวลาเรียนในเวลา

การจัดสรรทรัพยากรสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้อย่างไร

การศึกษา PISA ไม่ได้ให้ความสนใจเฉพาะคะแนนหรือเปรียบเทียบผลการประเมินระหว่างประเทศสมาชิก แต่ตั้งใจให้ข้อมลูของตัวแปรทุกตัวเพื่อหาคำอธิบายว่าตัวแปรใดส่งอิทธิพลกระทบต่อคุณภาพการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด ตัวแปรหนึ่งที่พบว่าส่งอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมากคือ ทรัพยากรการเรียน

ปัจจัยที่ทําให้ระบบโรงเรียนประสบความสําเร็จ ข้อมูลพื้นฐานจาก PISA 2012

ผลการประเมิน PISA 2012 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่หลายๆ ประเทศในโครงการกำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ ผลการประเมินได้เปิดเผยว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวในระบบการศึกษาไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของหลักสูตร ครู และนักเรียนตามที่มักเป็นที่เข้าใจกัน แต่มาจากความแตกต่างกันในนโยบายและการจัดการระบบการศึกษา ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

PISA in FOCUS: การจัดสรรทรัพยากรการเรียนอย่างเท่าเทียม สัมพันธ์กับผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร

ระบบโรงเรียนในประเทศที่มีคะแนน PISA สูง จะสามารถจัดสรรทรัพยากรการเรียนได้อย่างเท่าเทียมกันไม่ว่า โรงเรียนจะมีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงหรือต่ำก็ตาม และการสนับสนุนโรงเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและ สังคมต่ำไม่จำเป็นต้องจัดหาทรัพยากรการเรียนให้โรงเรียนเหล่านั้นมากขึ้น แต่ควรจัดหาทรัพยากรการเรียนและทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูงต่างหาก

ปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียนประสบความสำเร็จ

นอกจาก PISA ประเมินผลครอบคลุมความรู้และทักษะในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีการสำรวจตัวแปรต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลการเรียนรู้ของนักเรียน ทั้งในตัวแปรทางโรงเรียน ตัวแปรภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวและของโรงเรียน และด้านพ่อแม่ผู้ปกครอง สำหรับรายงานฉบับนี้เป็นผลการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากตัวแปรด้านโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของนักเรียน ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ

คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนไทย สังเคราะห์การประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2006 และ TIMSS 2007

รายงานนี้ประกอบด้วยผลการประเมินความรู้และทักษะวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการประเมินผลนานาชาติ TIMSS 2007 ซึ่งดำเนินการโดย IEA และผลจากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA ซึ่งดำเนินการโดย OECD และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ประเมินตามเป้าหมายที่ต่างกันและจุดเน้นของการประเมินต่างกัน ตามที่ข้อมูลหรือบริบททำให้เปรียบเทียบได้

ปัจจัยทางโรงเรียนกับคุณภาพการเรียนรู้

เมื่อมองผลการประเมินจากมุมมองของประเทศไทย นักเรียนวัยจบการศึกษาภาคบังคับของไทย เมื่อเทียบกับสมาชิก OECD แล้วยังไม่แสดงศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ในอนาคต ผลการประเมินชี้ว่าไทยยังต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน ทั้งในเรื่องครู ทรัพยากรการเรียน และการจัดการต่างๆ ในระบบโรงเรียน

การวัดผลและประเมินผลเพื่อคุณภาพการเรียนรู้ และตัวอย่างข้อสอบจากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA)

การพัฒนาวิชาชีพครู เป้าหมายสูงสุดคือการปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน เอกสารเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเสนอแนะวิธีการปฏิบัติในการวัดและประเมินผล เพื่อให้ครูสามารถตอบสนองการเรียนสอนระบบใหม่ที่เน้นความสำคัญของผู้เรียน

เทคโนโลยีสารสนเทศกับผลการเรียนรู้

PISA 2000 และ PISA 2003 มีการเก็บข้อมูลการใช้ ICT ของนักเรียนในแง่มุมต่างๆ เพื่อจะได้ข้อมูลว่านักเรียนไทยมีความพร้อมสำหรับโลกของเทคโนโลยีหรือไม่ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศมากน้อยเพียงใด และเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้อย่างที่คาดหวังหรือไม่ ในรายงานเล่มนี้ได้อธิบายประเด็นดังกล่าว

1 2