เทคโนโลยีการสื่อสารกับการเรียนรู้

ประเด็นการให้นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนหรือไม่นั้นมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ถึงแม้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวอาจถูกใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อการเรียน แต่ก็จะเกิดประโยชน์ได้ตราบเท่าที่ผู้ใช้รู้ดีว่าจะใช้อย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยก็สนับสนุนว่า กลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์สูง การใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนสามารถให้ประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ แต่ตรงกันข้ามกับกลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำและผลสัมฤทธิ์ปานกลาง การใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนกลับเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้

โรงเรียนในชนบทกับโรงเรียนในเมืองแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

ความท้าทายอย่างหนึ่งของรัฐคือการประกันว่า จะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันไม่ว่าโรงเรียนจะอยู่พื้นที่ใดในประเทศ เนื่องจากโรงเรียนในชนบทมีความห่างไกลและมีขนาดเล็กซึ่งเป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนาวิชาชีพครูและการจัดการศึกษาที่หลากหลายสำหรับนักเรียนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อได้เปรียบที่อัตรานักเรียนต่อครูต่ำ ก็อาจเปิดโอกาสให้โรงเรียนในชนบทสร้างนวัตกรรมการเรียนได้ง่ายกว่า เช่น การใช้ครูจากบุคลากรในท้องถิ่น การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในโรงเรียนชนบทด้วยกัน หรือการนำเทคโนโลยีสื่อสารทางไกลมาใช้ในการเรียนการสอน การรวมพลังท้องถิ่นที่สร้างสมรรถนะและทรัพยากรเหล่านี้เป็นหนทางให้สามารถลดช่องว่างระหว่างโรงเรียนในเมืองกับชนบทลงได้

เพราะเหตุใดผู้หญิงจึงทำงานด้านวิทยาศาสตร์น้อยกว่าผู้ชาย

การวิจัยของ Gijsbert Stoet และ David Geary (OECD, 2019) ชี้แนะว่า ในการเลือกอาชีพทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอาจได้รับอิทธิพลจากความเข้าใจในจุดแข็งทางวิชาการที่ตนมีเมื่อเทียบกับวิชาอื่น ๆ และความมั่นใจกับความสนใจในวิทยาศาสตร์ว่าตนมีความสามารถทางวิทยาศาสตร์มากพอ นักเรียนหญิงที่มีความสามารถสูงมักจะแตกต่างจากนักเรียนชายที่มีความสามารถสูงตรงที่นักเรียนหญิงอาจจะไม่เลือกอาชีพทางวิทยาศาสตร์ แม้ว่าจะมีความสามารถพอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในวิชาอื่น ๆ นักเรียนหญิงก็มีความสามารถสูงด้วย ดังนั้น การส่งเสริมให้นักเรียนหญิงมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์มากขึ้น จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้หญิงทำอาชีพทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมที่จะพัฒนานักเรียนชายที่มีจุดอ่อนด้านทักษะการอ่านควบคู่กันไป

ความสัมพันธ์ในโรงเรียนกับผลการประเมินการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ

ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโรงเรียนส่งผลทำให้คะแนน CPS สูงขึ้น ซึ่งพบทั้งในระดับนักเรียน ระดับโรงเรียน และระดับระบบโรงเรียน สำหรับความสัมพันธ์ในโรงเรียนไทย ข้อมูลไม่ชี้ถึงความสัมพันธ์ที่ดีมากนัก ส่วนความเชื่อมโยงต่าง ๆ เกือบทั้งหมดระหว่างคุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนชี้ถึงบรรยากาศทางวินัยของโรงเรียน

โลกรู้อะไรจากผลการประเมิน PISA

PISA เปรียบเหมือน X-ray ในระบบการศึกษาของชาติ แม้จะไม่สามารถแสดงภาพได้หมดทั้งระบบแต่ก็สามารถบอกจุดที่เจ็บป่วยได้ แต่น่าเศร้าที่ระดับนโยบายบางประเทศหลบเลี่ยงที่จะมองจุดที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย แต่กลับพยายามกลบเกลื่อนหรือสร้างภาพขึ้นปิดบังจุดที่เจ็บป่วยนั้นแทนที่จะให้การเยียวยารักษา การวิจัยนานาชาตินี้ไม่ได้ให้ผลเฉพาะคะแนนแต่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลายอย่างที่ชี้แนะถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่ยังถูกเพิกเฉยจากระดับนโยบายทางการศึกษาหลายระบบ

เบื้องหลังความสำเร็จใน PISA ของบางประเทศ

ฟินแลนด์กับเกาหลีใต้มีสิ่งหนึ่งที่ร่วมกัน คือ การให้ความเคารพครูและวิชาชีพของครู การคัดเลือกคนเข้าสู่อาชีพครูเป็นไปอย่างเข้มข้น และมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดเท่านั้นที่ทำหน้าที่ผลิตครู แต่สิ่งที่สองระบบตรงข้ามกัน คือ ลักษณะการเรียน โมเดลเกาหลีใต้ คือ ความอดทนและการเรียนหนักมากของนักเรียน ในขณะที่นักเรียนฟินแลนด์เรียนสบาย ๆ และยืดหยุ่นได้ มีเวลาเรียนสั้น ๆ และมีกิจกรรมเสริมมากมายจากสังคม แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าฟินแลนด์เป็นตัวแทนของระบบการศึกษาขนาดเล็ก ซึ่งประเทศใหญ่ ๆ คงใช้เป็นต้นแบบได้ยาก

ครูในระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างไร

ทุกประเทศไม่เน้นแต่การเพิ่มจำนวนครู แต่ต้องดูคุณสมบัติ ประสบการณ์ และประสิทธิผลของครู ความพยายามในการส่งเสริมนักเรียนด้อยโอกาสจะสำเร็จได้ต้องเพิ่มครูดี-ครูเก่งให้มากกว่าการเพิ่มจำนวนครู โรงเรียนด้อยโอกาสควรได้รับการจัดสรรครูคุณภาพสูง และรัฐต้องมีมาตรการชดเชยครูคุณภาพสูงที่สอนในโรงเรียนด้อยโอกาส ครูดี-ครูเก่ง คือ ครูที่สามารถสอนนักเรียนให้มีผลการเรียนพลิกความคาดหมายได้ ไม่ใช่ครูที่สอนในโรงเรียนที่คัดเลือกเฉพาะนักเรียนที่เก่งอยู่แล้วเข้ามาในโรงเรียน เพราะนักเรียนเหล่านั้นเก่งได้โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับครูมากนัก

การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์

นักเรียนทั่วโลกต่างสนใจและใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากขึ้นทุกทีทั้งในและนอกโรงเรียน และนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมด้อยเปรียบใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นเป็นอัตราแบบยกกำลัง ซึ่งเรื่องนี้แม้ในทศวรรษที่แล้วคิดกันในเชิงบวก แต่ ณ เวลานี้เริ่มสับสนเพราะข้อมูลชี้ว่า ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนต่ำลงโดยเฉพาะเมื่อใช้ในวันที่มีเรียน

ตัวแปรด้านโรงเรียนของระบบที่ประสบความสำเร็จ

การที่นักเรียนไทยมีผลการประเมิน PISA ต่ำ ข้อมูลชี้ว่า มีเหตุปัจจัยประกอบหลายอย่าง นอกเหนือจากทางวิชาการแล้วยังมีการจัดการทางการเรียน สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศทางระเบียบวินัย ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า นักเรียนมีผลการเรียนต่ำนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการจัดการและแนวปฏิบัติหลายอย่างที่ไม่ส่งผลทางบวก ถ้าระบบมีการจัดการที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลทางบวกต่อการเรียนรู้ นักเรียนอาจมีแรงจูงใจในการเรียนเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลให้การเรียนรู้มีคุณภาพขึ้นและมีความยั่งยืนมากกว่า

การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

PISA 2015 นอกจากวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลักแล้ว ยังมีการวัดความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CPS ในสถานการณ์ที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นทั้งต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมในปัจจุบัน ในรายงานนี้ได้ชี้ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ

1 2 3 6