ประเทศไหนได้ประโยชน์จาก PISA

ระบบโรงเรียนที่ได้ประโยชน์จาก PISA คือ ระบบที่ระดับนโยบายตอบสนองรายงานผลการประเมินอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในประเทศคะแนนต่ำ หลายประเทศมีการพัฒนายกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน และได้เห็นผลการพัฒนาว่าทำให้นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะยังไปไม่ถึงความเป็นเลิศก็ตาม ประเทศที่เคยมีคะแนนใกล้เคียงกับไทยก็หนีห่างออกไป

PISA กับประเทศไทย: ความจริงที่ต้องยอมรับ

คุณภาพการศึกษาไทยยังห่างไกลความเป็นเลิศ การแก้ไขปรับปรุงจึงเป็นเรื่องรีบด่วน ผลการวิจัยที่ชี้ ความอ่อนด้อยน่าจะเป็นจุดเริ่มของการแก้ไขที่ถูกจุดทั้งในด้านการจัดการทางการศึกษา สังคมและวัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมการไม่คิด เชิงวิพากษ์วิจารณ์ ความนิยมในการที่ต้องให้ผู้อื่นบอก การกวดวิชาก็เป็นผลพวงจากความนิยมนี้ ตัวแปรเหล่านี้ ผลการวิจัยชี้ชัดว่า ส่งผลกระทบทางลบต่อคุณภาพการศึกษา

PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง

การศึกษาของไทยถือว่ามีคุณภาพระดับเทียบเคียงนานาชาติได้ระดับหนึ่ง แต่การศึกษาที่มีคุณภาพนั้นอยู่เพียงใน กทม. เท่านั้น หากสามารถขยายตัวแบบการศึกษาใน กทม. ออกไปใช้ทั่วประเทศอาจทำให้ผลการประเมินสูงขึ้นได้ อนึ่ง PISA ได้ชี้ถึงจุดอ่อนที่ระบบฯ สามารถนำมาพิจารณาเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ทั้งในด้านครู ทรัพยากรการศึกษา ความเท่าเทียมหรือความเป็นธรรมทางการศึกษา การเปลี่ยนหลักสูตรอย่างเดียวจึงไม่ใช่คำตอบ แต่การศึกษาต้องปรับทุกประเด็นแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่เห็นคุณค่าอย่างสูงของการศึกษา การเคารพครู ความขยันและการทำงานหนักก็เป็นองค์ประกอบของการยกระดับคุณภาพการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศกับผลการเรียนรู้

PISA 2000 และ PISA 2003 มีการเก็บข้อมูลการใช้ ICT ของนักเรียนในแง่มุมต่างๆ เพื่อจะได้ข้อมูลว่านักเรียนไทยมีความพร้อมสำหรับโลกของเทคโนโลยีหรือไม่ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศมากน้อยเพียงใด และเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้อย่างที่คาดหวังหรือไม่ ในรายงานเล่มนี้ได้อธิบายประเด็นดังกล่าว

ความรู้และทักษะของเยาวชนไทยสำหรับโลกวันพรุ่งนี้ (ฉบับสมบูรณ์)

องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ได้ริเริ่มโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA (Programme for International Student Assessment) เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาของประเทศสมาชิก สำหรับประเทศไทยแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของ OECD แต่ได้ขอเข้าร่วมโครงการประเมินผลดังกล่าว ทั้งนี้ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะหาคำตอบให้กับระบบการศึกษาไทย

ความรู้และทักษะของเยาวชนไทยสำหรับโลกวันพรุ่งนี้ รายงานสรุปเพื่อการบริหาร

องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ได้ริเริ่มโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA (Programme for International Student Assessment) เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาของประเทศสมาชิก สำหรับประเทศไทยแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของ OECD แต่ได้ขอเข้าร่วมโครงการประเมินผลดังกล่าว ทั้งนี้ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะหาคำตอบให้กับระบบการศึกษาไทย