[INFOGRAPHICS] ความคาดหวังในการประกอบอาชีพของนักเรียนวัย 15 ปี

Facebook: IPST Thailand ได้จัดทำ Infographics ของบทความ Focus ประเด็นจาก PISA ฉบับที่ 52 (เมษายน 2563) “ความคาดหวังในการประกอบอาชีพของนักเรียนวัย 15 ปี


การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วทำให้มีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย การเลือกประกอบอาชีพจึงนับว่ามีความความสำคัญอย่างยิ่ง

การที่เราสามารถเลือกประกอบอาชีพได้เหมาะสมกับตนเองย่อมส่งผลต่อความสุขและโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว อีกทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศด้วย

Focus ประเด็นจาก PISA ฉบับที่ 52 นี้ จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจถึงความคาดหวังในการประกอบอาชีพของเด็กรุ่นใหม่ (นักเรียนวัย 15 ปี) และบทบาทสำคัญของโรงเรียนในประเด็นต่อไปนี้

1) 5 อันดับอาชีพที่นักเรียนชายและหญิงของไทยคาดหวังว่าจะทำเมื่ออายุ 30 ปี

2) นักเรียนไทยมีความคาดหวังจะสำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับใด

3) ความคาดหวังในการศึกษาต่อสอดคล้องกับความคาดหวังในการประกอบอาชีพหรือไม่

4) นักเรียนที่ได้เปรียบมีความคาดหวังที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากกว่านักเรียนที่ด้อยเปรียบ 

5) โรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพอย่างไร

ความคาดหวังในการประกอบอาชีพของนักเรียนวัย 15 ปี

สำหรับนักเรียนกลุ่มอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับและกำลังก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะต้องมีการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับชีวิตในอนาคต เช่น พวกเขาต้องเลือกว่าจะศึกษาต่อในเส้นทางใด สาขาวิชาใด หรือตัดสินใจเลือกว่าจะทำงานหลังสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเลยหรือไม่

หากนักเรียนรู้ถึงเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องการทำในอนาคตที่ชัดเจนแล้ว ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองเพื่อที่จะบรรลุป้าหมายความสำเร็จในชีวิตต่อไป

5 อันดับอาชีพที่นักเรียนชายและหญิงของไทยคาดหวังว่าจะทำเมื่ออายุ 30 ปี

มาดูกันว่า 5 อันดับอาชีพที่นักเรียนชายและหญิงของไทยคาดหวังว่าจะทำเมื่ออายุ 30 ปี มีอาชีพอะไรบ้าง 

นักเรียนไทยมีความคาดหวังที่จะสำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับใด

จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียนไทย พบว่า นักเรียนไทยส่วนใหญ่ถึง 69% มีความคาดหวังที่จะสำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก

ความคาดหวังในการศึกษาต่อสอดคล้องกับความคาดหวังในการประกอบอาชีพหรือไม่

ทั้งประเทศไทยและประเทศสมาชิก OECD นักเรียนส่วนใหญ่ต่างรายงานว่า ต้องการประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทักษะสูง แต่ในกลุ่มนี้ยังมีนักเรียนถึง 20% ที่ไม่คาดหวังที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

นั่นแสดงให้เห็นว่า ความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนยังไม่สอดคล้องกับเป้าหมายในการประกอบอาชีพในอนาคตนั่นเอง

นักเรียนที่ได้เปรียบมีความคาดหวังที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากกว่านักเรียนที่ด้อยเปรียบ

ความคาดหวังที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระหว่างนักเรียนที่ด้อยเปรียบกับนักเรียนที่ได้เปรียบมีช่องว่างกว้างมาก นั่นคือ นักเรียนที่ได้เปรียบด้านสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมมีความคาดหวังที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากกว่านักเรียนที่ด้อยเปรียบ

ซึ่งหากนักเรียนกลุ่มที่ด้อยเปรียบมีความคาดหวังที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากขึ้น จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับตนเองในการเลือกประกอบอาชีพและสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไปในอนาคต

นักเรียนที่ด้อยเปรียบไม่คาดหวังที่จะสําเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา แม้จะมีผลการประเมินสูง

เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มนักเรียนที่มีผลการประเมิน PISA ในระดับสูง จะพบว่า นักเรียนที่ด้อยเปรียบที่มีผลการประเมินสูงของไทยก็ยังไม่คาดหวังที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอยู่มากถึงร้อยละ 17.6 ซึ่งอาจเกิดจากอิทธิพลของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม

โรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพอย่างไร

โรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพ โดยการจัดกิจกรรมแนะแนวให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจ และเห็นภาพของอาชีพที่ตนเองสนใจอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

ซึ่งการได้รับการแนะแนวอาชีพที่ดีจากโรงเรียนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้นักเรียนสามารถวางแผนในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักเรียนซึ่งด้อยเปรียบทางเศรษฐกิจและสังคม

เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกกลุ่มสามารถพัฒนาตนเองเข้าสู่ตลาดแรงงานและเป็นกำลังสำคัญที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป


ติดตามก่อนใคร กด Like กด Share และร่วมแสดงความคิดเห็นได้ทาง https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/3031888396847528/