การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์

นักเรียนทั่วโลกต่างสนใจและใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากขึ้นทุกทีทั้งในและนอกโรงเรียน และนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมด้อยเปรียบใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นเป็นอัตราแบบยกกำลัง ซึ่งเรื่องนี้แม้ในทศวรรษที่แล้วคิดกันในเชิงบวก แต่ ณ เวลานี้เริ่มสับสนเพราะข้อมูลชี้ว่า ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนต่ำลงโดยเฉพาะเมื่อใช้ในวันที่มีเรียน

จุดอ่อนในระบบการศึกษาไทย

ผลการประเมินวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยไม่เปลี่ยนแปลงจากเมื่อสิบปีที่แล้วยังคงมีคะแนนต่ำและคงที่ ผลการวิจัยชี้ถึงหลายตัวแปรทางระบบโรงเรียนที่ส่งผลกระทบต่อคะแนนที่ต่ำ เป็นต้นว่า ความเท่าเทียมทางการศึกษา แนวปฏิบัติในระบบโรงเรียน เวลาเรียน และ ครู

คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนไทย สังเคราะห์การประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2006 และ TIMSS 2007

รายงานนี้ประกอบด้วยผลการประเมินความรู้และทักษะวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการประเมินผลนานาชาติ TIMSS 2007 ซึ่งดำเนินการโดย IEA และผลจากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA ซึ่งดำเนินการโดย OECD และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ประเมินตามเป้าหมายที่ต่างกันและจุดเน้นของการประเมินต่างกัน ตามที่ข้อมูลหรือบริบททำให้เปรียบเทียบได้

ปัจจัยทางโรงเรียนกับคุณภาพการเรียนรู้

เมื่อมองผลการประเมินจากมุมมองของประเทศไทย นักเรียนวัยจบการศึกษาภาคบังคับของไทย เมื่อเทียบกับสมาชิก OECD แล้วยังไม่แสดงศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ในอนาคต ผลการประเมินชี้ว่าไทยยังต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน ทั้งในเรื่องครู ทรัพยากรการเรียน และการจัดการต่างๆ ในระบบโรงเรียน

ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับโลกวันพรุ่งนี้

PISA 2006 มีเป้าหมายที่การประเมินด้านสติปัญญาและด้านเจตคติของการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ การประเมินทางด้านสติปัญญารวมถึงความรู้และการใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และ PISA พิจารณาถึงประเด็นของความรู้วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนช่วยในการดำเนินชีวิตของนักเรียนในการตัดสินใจซึ่งอาจจะเป็นในปัจจุบันหรือในอนาคต

บทสรุปเพื่อการบริหาร การรู้วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ของนักเรียนนานาชาติวัย 15 ปี

รายงานนี้ ในสองส่วนแรกเป็นผลการประเมินโดยสรุปประเด็นหลักๆ ที่สำคัญเพื่อการบริหารของนักเรียนไทยและนักเรียนนานาชาติตามลำดับ ส่วนที่สามเป็นสาระและภูมิหลังของโครงการ และในส่วนที่สี่ จะรายงานปัจจัยประกอบที่เพิ่มเติมจากผลการประเมินหลัก

รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โครงการ PISA 2006

รายงานฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของ PISA 2006 ซึ่งขณะที่ทำรายงานฉบับนี้ยังไม่ทราบผลการวิเคราะห์ร่วมกับนานาชาติ จึงเป็นผลการวิเคราะห์ภายในประเทศเท่านั้น รายงานจะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ 1 กล่าวถึงความเป็นมา วิธีการดำเนินการ และผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบทดสอบ และส่วนที่ 2 เป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม