Facebook: IPST Thailand ได้จัดทำ Infographics ของบทความ Focus ประเด็นจาก PISA ฉบับที่ 50 (กุมภาพันธ์ 2563) “นักเรียนที่ด้อยเปรียบกับผลการประเมินที่เหนือความคาดหมาย“
นักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมด้อยเปรียบ ไม่สามารถประสบความสำเร็จทางการศึกษา จริงหรือ????
ผลประเมิน PISA 2018 ชี้ให้เห็นว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงเสมอไป เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น
ข้อมูลจากแบบสอบถาม PISA แบ่งนักเรียนตามสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมออกเป็น 4 กลุ่ม โดยพบว่านักเรียนที่ด้อยเปรียบมักจะมีลักษณะดังนี้ 1) พ่อแม่มีการศึกษาไม่สูงนัก ประกอบอาชีพรายได้น้อย และมักไม่ได้รับการนับถือในสังคม 2) ขาดแคลนทรัพยากรการเรียนรู้ที่บ้าน และมักอยู่ในโรงเรียนที่ขาดแคลน 3) ใช้ภาษาอื่น ๆ ที่บ้านซึ่งต่างจากภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอนที่โรงเรียน
จากลักษณะเหล่านี้ นักเรียนที่ด้อยเปรียบจึงมักจะไม่ประสบความสำเร็จทางการศึกษา
แม้ว่า นักเรียนส่วนใหญ่ในกลุ่มที่ด้อยเปรียบจะมีผลการประเมินต่ำ แต่มีนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มด้อยเปรียบของประเทศไทย บางส่วนที่ไม่ยอมจำนนต่อโชคชะตาและสามารถเอาชนะต่อความท้าทายจนทำให้ตนเองประสบความสำเร็จทางการศึกษาได้ เรียกนักเรียนกลุ่มนี้ว่า “นักเรียนที่ไม่ย่อท้อทางการศึกษา” (Academic Resilient Students) หรือที่ในประเทศไทยนิยมเรียกกันว่า ” นักเรียนกลุ่มช้างเผือก” ซึ่งในที่นี้หมายถึง นักเรียนที่มีภูมิหลังด้อยเปรียบแต่มีผลการประเมินสูง
อะไรล่ะที่ทำให้เกิดผลการประเมินที่เหนือความคาดหมาย
แม้เราหรือนักเรียนของเรา จะอยู่ในกลุ่มที่ด้อยเปรียบ ทุกคนสามารถมีส่วนช่วยผลักดันให้นักเรียนในกลุ่มที่ด้อยเปรียบกลายเป็นกลุ่มช้างเผือกได้
ติดตามก่อนใคร กด Like กด Share และร่วมแสดงความคิดเห็นได้ทาง https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/2905469846156051