PISA 2015 ผลการประเมินการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (ฉบับสมบูรณ์)
PISA 2015 นอกจากจะประเมินความฉลาดรู้ในสามด้านหลัก& […]
รายงานที่เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมการประเมิน PISA 2015 ของประเทศไทย
PISA 2015 นอกจากจะประเมินความฉลาดรู้ในสามด้านหลัก& […]
PISA 2015 นอกจากวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลักแล้ว ยังมีการวัดความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CPS ในสถานการณ์ที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นทั้งต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมในปัจจุบัน ในรายงานนี้ได้ชี้ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ
PISA 2015 เน้นวิทยาศาสตร์เป็นการประเมินหลักครั้งที่สองถัดจาก PISA 2006 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครู การจัดสรรทรัพยากร
PISA 2015 เก็บข้อมูลด้านต่าง ๆ ของระบบโรงเรียน จากรายงานของนักเรียน ครู และครูใหญ่ เกี่ยวกับระบบโรงเรียน วิธีการหรือแนวปฏิบัติ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทางการเรียน ทำให้สามารถให้ข้อมูลด้านวิธีการปฏิบัติของระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่สำคัญมากในระบบโรงเรียนคือทรัพยากร ทั้งในด้านงบประมาณและการลงทุนทางการศึกษา ซึ่งจะชี้ว่า ระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จนั้นเขาทำกันอย่างไร
รายงานฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของ PISA 2015 ซึ่งขณะที่ทำรายงานฉบับนี้ยังไม่ทราบผลการวิเคราะห์ร่วมกับนานาชาติ จึงเป็นผลการวิเคราะห์ภายในประเทศเท่านั้น รายงานจะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ผลการประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ การรู้เรื่องการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ
รายงานเล่มนี้ได้รวบรวมหลักการและแนวคิดที่ประเทศสมาชิก OECD และประเทศที่มิใช่สมาชิกแต่เข้าร่วมโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ PISA ซึ่งได้ตกลงตัดสินว่าเป็นสิ่งจำเป็นของการเตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในโลกปัจจุบันและอนาคต กรอบโครงสร้างในรายงานประกอบด้วย กรอบโครงสร้างการประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ การรู้เรื่องการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ
PISA 2015 มีประเทศที่เข้าร่วมโครงการ 72 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ และเป็นครั้งแรกที่จัดให้มีการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based assessment หรือ CBA) เต็มรูปแบบ สำหรับประเทศไทยได้เก็บข้อมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 จากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอายุ 15 ปี จำนวน 8,249 คน ใน 273 โรงเรียนของทุกสังกัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบทดสอบที่ประเมินความสามารถในการใช้ความรู้และทักษะด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามนักเรียนและผู้บริหารโรงเรียน