ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

การประเมิน PISA 2018 เน้นการอ่านเป็นการประเมินหลักครั้งที่สามถัดจาก PISA 2000 และ PISA 2009 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มของ
การเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้ด้านการอ่านของนักเรียนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ซึ่งรายงานฉบับนี้จะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมิน PISA 2018
ทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาต่อไป

ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

PISA 2015 เน้นวิทยาศาสตร์เป็นการประเมินหลักครั้งที่สองถัดจาก PISA 2006 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครู การจัดสรรทรัพยากร

ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

สาหรับ PISA 2012 เน้นคณิตศาสตร์เป็นการประเมินหลัก และนับเป็นครั้งที่สองจาก PISA 2003 ที่คณิตศาสตร์เป็นการประเมินหลัก การประเมินผลดังกล่าวทำให้สามารถติดตามแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป และให้ข้อมูลว่าระบบการศึกษาของประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมสาหรับนักเรียนได้มากน้อยเพียงใด

ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

การวิจัย PISA 2009 ครั้งนี้ เป็นการเริ่มต้นของรอบสอง และให้น้ำหนักแก่การประเมินการอ่านเป็นสำคัญ หรือเรียกได้ว่าเป็นการประเมินการอ่านซ้ำเป็นรอบที่สองเพื่อติดตามดูว่าในเวลาที่เปลี่ยนไป นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด

ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับโลกวันพรุ่งนี้

PISA 2006 มีเป้าหมายที่การประเมินด้านสติปัญญาและด้านเจตคติของการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ การประเมินทางด้านสติปัญญารวมถึงความรู้และการใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และ PISA พิจารณาถึงประเด็นของความรู้วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนช่วยในการดำเนินชีวิตของนักเรียนในการตัดสินใจซึ่งอาจจะเป็นในปัจจุบันหรือในอนาคต

สมรรถนะการแก้ปัญหาสำหรับโลกวันพรุ่งนี้ (ฉบับสมบูรณ์)

การประเมินผลการแก้ปัญหาเป็นการประเมินผลนานานชาติครั้งแรก ที่มีการประเมินสมรรถนะที่ใช้จริงในชีวิต นักเรียนไทยสามารถแสดงออกถึงสมรรถนะนั้นๆ เพียงพอสำหรับชีวิตในอนาคตหรือไม่ คือสาระสำคัญของรายงานฉบับนี้

การเรียนรู้เพื่อโลกวันพรุ่งนี้ (ฉบับสมบูรณ์)

PISA 2003 ได้รายงานถึงการเปลี่ยนแปลงของผลการประเมิน พร้อมทั้งชี้ถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ ซึ่งระบบการศึกษาได้รับรับ และตอบรับความท้าทายในการที่จะทำให้การศึกษามีคุณภาพเทียมทันกับประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษา

ความรู้และทักษะของเยาวชนไทยสำหรับโลกวันพรุ่งนี้ (ฉบับสมบูรณ์)

องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ได้ริเริ่มโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA (Programme for International Student Assessment) เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาของประเทศสมาชิก สำหรับประเทศไทยแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของ OECD แต่ได้ขอเข้าร่วมโครงการประเมินผลดังกล่าว ทั้งนี้ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะหาคำตอบให้กับระบบการศึกษาไทย