การจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมสำคัญอย่างไร

การมีและการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมเป็นมาตรการหนึ่งของการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ การมีทรัพยากรที่มีคุณภาพสามารถทดแทนความเสียเปรียบทางภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนและของโรงเรียนได้ โรงเรียนที่ด้อยกว่าและมีผลการประเมินต่ำ จึงไม่ใช่โรงเรียนที่ระบบการศึกษาพึงเพิกเฉยต่อไป

การคัดเลือกและแยกกลุ่มนักเรียนสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้อย่างไร

การคัดเลือกและแยกกลุ่มนักเรียน เดิมเคยเป็นแนวปฏิบัติที่ใช้กันในระบบโรงเรียนทั่วไป แต่แนวปฏิบัติดังกล่าวลดลงหลังจากที่มีรายงานของ OECD เรื่องความเป็นเลิศและความเสมอภาคทางการศึกษา (OECD, 2013a) เผยแพร่ออกมา ในรายงานชี้ถึงความไม่เสมอภาคทางการศึกษาในแนวปฏิบัตินั้น

การเรียนซ้ำชั้นทำให้การเรียนรู้ดีขึ้นหรือไม่

การซ้ำชั้นเป็นการแยกกลุ่มนักเรียนตามแนวตั้งรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผลการวิจัยชี้ว่า การคัดแยกกลุ่มนักเรียน มักเป็นอันตรายต่อความเท่าเทียมทางการศึกษา (OECD, 2013b) การซ้ำชั้นเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้เกิดการคัดแยกนักเรียนตามแนวตั้ง

PISA in FOCUS: การจัดสรรทรัพยากรการเรียนอย่างเท่าเทียม สัมพันธ์กับผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร

ระบบโรงเรียนในประเทศที่มีคะแนน PISA สูง จะสามารถจัดสรรทรัพยากรการเรียนได้อย่างเท่าเทียมกันไม่ว่า โรงเรียนจะมีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงหรือต่ำก็ตาม และการสนับสนุนโรงเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและ สังคมต่ำไม่จำเป็นต้องจัดหาทรัพยากรการเรียนให้โรงเรียนเหล่านั้นมากขึ้น แต่ควรจัดหาทรัพยากรการเรียนและทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูงต่างหาก

1 2